รัฐสัตว์: วรรณกรรมเทพนิยาย • George Orwell [แปล: เกียรติขจร ชัยเธียร]
Animal Farm เป็นอมตวรรณกรรมเอกของ George Orwell หนึ่งในนักประพันธ์ชาวอังกฤษที่ผมชื่นชอบมาก นอกเหนือจาก E. M. Froster, Hermann Hesse, James Joyce, Jane Austin และอีกหลายๆท่าน ที่ยังทรงพลังในการขับเคลื่อนความคิดของทุกคนที่ได้อ่าน. หนังสือเล่มนี้สำนักพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์มาแล้วสองครั้ง (๒๕๔๔ และ ๒๕๔๕) และไม่ได้พิมพ์อีกมานานมากจนใครจะหาซื้อก็ไม่มีจำหน่ายอีก ผมจึงได้นำมาปรับปรุงถ้อยคำที่ผมเคยแปลไว้ไม่โดนใจ แก้คำที่สะกดผิดจำนวนมาก และแก้ไขวรรคตอนใหม่ รวมทั้งออกแบบปกใหม่ที่เอาสัญลักษณ์กีบและเขาของธงรัฐสัตว์ตามเนื้อเรื่อง ให้ทุกคนได้ดาวน์โหลดอ่านกันฟรี!! (เฉพาะภาควรรณกรรม แต่ภาพวิิเคราะห์ผมยังไม่มีเวลาปรับปรุง) เพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางมากเท่าที่เป็นได้. อีกทั้งวรรณกรรมของ Orwell ทุกเล่ม บัดนี้ได้กลายเป็นสาธารณสมบัติไปแล้ว ดังนั้นทุกคนควรมีโอกาสได้อ่าน "อย่างเท่าเทียมกัน" [Orwell เอาคำๆนี้มาเล่นให้เข้าถึงเบื้องลึกของจิตใจผู้อ่านได้อย่างพิสดารจริงๆ].
ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่
แปลจากต้นฉบับ: Animal Farm: A Fairy Story ของ George Orwell
จำนวนหน้า: ๑๖๓ หน้า
ขนาดรูปเล่ม: ๔.๒๕"x๕.๗๕"
ปีที่พิมพ์: ต้นฉบับแกัไข พฤศจิกายน ๒๕๕๐
"รัฐสัตว์" เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจ, การฉ้อฉล, และการหักหลังประชาชนในการปฏิวัติทางการเมือง. วิถีทางที่ความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของประชาชนกลับกลาย เป็นเหยื่อของความมักใหญ่ใฝ่สูง ความเห็นแก่ตัว และการหลอกลวง. "รัฐสัตว์" ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้ อำนาจอย่างบิดเบือน ซึ่งผู้ประพันธ์ต้องการบอกให้รู้ว่าสังคมใดๆ ที่มีผู้นำที่มีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ (ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม) ย่อมนำไปสู่ความหายนะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อันเนื่องมาจากการใช้ อำนาจเพื่อ ผลประโยชน์ของตัวผู้นำเองหรือพวกพ้อง. ดังเห็นได้ชัดจากวลีที่เยื้อยหยันที่ตรึงไจผู้อ่านได้อย่างแนบแน่นเพื่อประชดสังคมใดๆที่แสร้งกล่าวอ้างว่าตนมีความเท่าเทียมกันหรือเสมอภาค ดังบัญญัติข้อที่เจ็ดที่ถูกบิดเบือนว่า "สัตว์ทุกตัวมีความเท่าเทียมกัน แต่สัตว์บางตัวมีความเท่าเทียมมากกว่าสัตว์ตัวอื่นๆ" ได้อย่างน่าประทับใจ. ตลอดเวลากว่าหกสิบปีที่หนังสือ Animal Farm (รัฐสัตว์) ของGeorge Orwell เล่มนี้ได้พิมพ์จำหน่ายอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนเกินกว่าห้าสิบล้านเล่มในเกือบทุกภาษาทั่วโลกนั้น ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นใน "รัฐสัตว์" ยังคงมีอยู่ในทุกยุคทุกสมัย.
ฉบับที่สำนักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์
ปีที่พิมพ์: ครั้งที่แรก ๒๕๔๕, ครั้งที่สอง ตุลาคม ๒๕๔๕
สํานักพิมพ์: มติชน
รูปเล่ม: ปกอ่อน กระดาษธรรมดา
จํานวนหน้า: ๒๗๐ หน้า
คำนำของสำนักพิมพ์มติชน
รัฐสัตว์: วรรณกรรมเทพนิยาย เป็นวรรกรรมคลาดสสิกของโลก ประเภทล้อเลียนการเมือง เนื้อเรื่องแฝงไปด้วยสัญลักษณ์ และการอุปมาเปรียบเทียบ โดยบรรดาสัตว์เป็นตัวแทนบรรดาสัตว์ผู้มีหัวใจเสรีในฟาร์ม ได้ลุกขึ้นทำการปฏิวัติ เรียกร้องความเท่าเทียม ความยุติธรรม และสิทธิการปกครองตนเอง จอร์จ ออร์เวล อุปโลกน์ให้สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งหมู ม้า สุนัข แพะ แกะ ห่าน ฯลฯ มีความคิดอ่าน และสามารถพูดจา สื่อสารกันเข้าใจราวมนุษย์ ทำให้หนังสือเล่มนี้ มีลักษณะคล้ายนิทานหรือเทพนิยาย ที่เปี่ยมไปด้วยสาระและอารมณ์ขัน
Animal Farm: A Fairy Story เคยแปลเป็นภาษาไทย มาแล้วหลายสำนวน พิมพ์เผยแพร่มาแล้วหลายครั้งเช่นกัน แต่สำหรับสำนวนแปลของเกียรติขจร ไชยแสงสุขกุล เล่มนี้มีความพิเศษ น่าสนใจแตกต่างจากสำนวนแปลอื่นๆ ตรงที่ผู้แปล ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ภาคด้วยกัน ภาคแรก-ภาควรรณกรรม ถอดความมาจาก ต้นฉบับภาษาอังกฤษ และภาคที่ 2-ภาควิเคราะห์ เนื้อหาทุกบททุกตอน และทุกตัวละครละเอียดยิบ เสมือนการช่วยย่อย ให้เข้าถึงรสชาติลึกซื้งยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้แปลได้แสดงให้เห็นถึงความพิถีพิถัน ด้วยการนำ ประวัติของจอร์จ อาร์เวล รวมทั้งประวัติศาสตร์สังคมและแนวคิดทางการเมือง ในยุคนั้น เข้ามาประกอบด้วย ทำให้มองเบื้องลึกที่มาของเรื่องราว อันเป็นความชาญฉลาดของจอร์จ ออร์เวลโดยแท้
รัฐสัตว์: วรรณกรรมเทพนิยาย เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ที่มีสาระ อ่านมันส์ในอารมณ์ สนุกเพลิดเพลิน มีทั้งเสียดสีล้อเลียน แสบๆ คันๆ ประเภทเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี
ดาวน์โหลด >>> หนังสืออยู่ระหว่างการแก้ไข-เพิ่มเติมต้นฉบับเพื่อพิมพ์เป็นเล่ม
Post a Comment