สาธนา • รพินทรานาถ ฐากูร [แปล: เกียรติขจร ชัยเธียร]


"สาธนา" เป็นหนังสือที่เข้าถึงเบื้องลึกของสัจจะในความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง. อาจเรียกได้ว่าเป็น "คู่มือมนุษย" ฉบับอินเดียก็คงไม่เกินเลยไปนัก. หนังสือเล่มนี้นับว่าทรงคุณค่าจริงๆสำหรับผู้อ่าน หรือโดยเฉพาะสำหรับผู้แปลอย่างผม. การแปลเพื่อเทียบเคียงความหมายจากภาษาอังกฤษ ที่แปลมาจากภาษาเบงคลีที่ท่านรพินทรนาถ ฐากูรเขียนและกล่าวสุนทรพจน์ไว้ จึงนับว่ายากมาก. แต่กระนั้น ผมขอเทียบเคียงจากคำกล่าวของท่านมหาตมะคานธีว่า ไม่ว่าครั้งใดที่ผมรู้สึกหดหู่ หรือสิ้นหวัง ผมจะมีหนังสือ "สาธนา" เล่มนี้อยู่ข้างกายเสมอ. เช่นนี้แล้ว คุณจะไม่ลองอ่านบ้างหรือ?

ปล. ผมเคยไปเยี่ยมชมบ้านพักของท่านรพินทรนาถ ฐากูร ที่อยู่ท่ามกลางชุมชนหนาแน่นของกัลกัตตา. แม้เห็นได้ชัดเจนว่าสภาพมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก แต่ภาวะของกาละ-เทศะที่คงเหลืออยู่ ยังคงทำให้รู้สึกถึงบรรยากาศที่สงบในความเรียบง่ายของผู้เคยอาศัยและใช้คฤหาสน์แห่งนี้ประพันธ์หนังสือ แต่งบทความ รจนาสุนทรพจน์ ฯลฯ มาอย่างมากมายได้เป็นอย่างดี. ความจริงผมได้แปลนวนิยายเรื่อง โครา (Gora) ของท่านรพินทรนาถ ฐากูรไว้บางบทแล้ว แต่กว่าหกปีมานี้ผมไม่สามารถทำให้ต่อเนื่องจนจบได้. นวนิยายเรื่องนี้อาจไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางกันนัก หากเทียบกับ "สาธนา" หรือ "คีตาญชลี" แต่หากใครได้อ่านนวนิยายของท่านรพินทรนาถ ฐากูรเล่มนี้ ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นสากล (universality) ของผู้ประพันธ์ได้อย่างชัดเจนแล้ว จะซาบซึ้งไม่รู้ลืม. ผมรับรอง... [หนังสือเล่มนี้หาซื้อยากมาก แม้แต่ที่บ้านพักของท่านรพินทรนาถ ฐากูรในกัลกัตตาก็ไม่มีหนังสือของท่านจำหน่ายเลย แต่ที่ศานตินิเกตันอาจมีจำหน่ายอยู่บ้าง]


จำนวนหน้า: ๒๗๖ หน้าขนาดรูปเล่ม: ๔.๒๕"x๕.๗๕"
ปีที่พิมพ์: เผยแพร่ครั้งแรก มิถุนายน ๒๕๔๗. ปรับปรุงครั้งที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๙

จากปกหลัง
"สาธนา" หมายถึงสื่อ หรือหนทางที่นำไปสู่การการหยั่งรู้ในตน ซึ่งสะท้อนความคิดเชิงปรัชญาของท่านรพินทรนาถ ฐากูร ทั้งในแง่ของอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ผ่านชื่อหนังสือเล่มนี้ได้เป็นอย่างดี. บทประพันธ์แสดงออกถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และภาวะสูงสุด ทั้งในแง่การแสดงออก วิวรณ์ และการหยั่งรู้ ที่เชื่อมกันอยู่ด้วยความรักและความกลมกลืนให้เป็นเอกภาพเดียวกันกับสรรพ สิ่งทั้งปวงได้อย่างครบถ้วน. วิธีอรรถาธิบายของท่านทำใด้อย่างนุ่มนวล ด้วยฉันทลักษณ์ของร้อยแก้วที่เรียบง่าย งดงาม และลึกซึ้ง เข้าถึงจิตวิญญาณของผู้อ่านได้อย่างสำเร็จ อันจะสร้างความหวัง ความงาม และความรักภายในจิตใจของผู้อ่านทุกผู้ทุกนาม.

สารบาญ

คำนำของผู่แปล
คำนำของผู้ประพันธ์
๑. ความสัมพันธ์ของปัจเจกอันมีต่อเอกภพ
๒. จิตตะ-วิญญาณ
๓. ปัญหาว่าด้วยบาป
๔. ปัญหาว่าด้วยอัตตา
๕. อธิคมในปิยภาพ
๖. อธิคมในกรรม
๗. อธิคมแห่งสุนทรียภาพ
๘. อธิคมแห่งอนันตภาพ
ภาคผนวก

ดาวน์โหลด >>> หนังสืออยู่ระหว่างการแก้ไข-เพิ่มเติมต้นฉบับเพื่อพิมพ์เป็นเล่ม

3 ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณอย่างสูงสำหรับงานแปลดีๆเช่นนี้

ผมได้ดาวน์โหลดไฟล์มาเปิดใน Acrobat ในส่วนของ Bookmarks ไม่สามารถอ่านได้ (เป็นภาษาต่างดาว)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เล่มที่ท่านระวี ภาวิไลแปล ยังเก็บอยู่จนบัดนี้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ชอบเล่มนี้ครับ
อ่านมาสามรอบแล้ว เพราะเป็นคนมีปัญญาน้อย จึงต้องอ่านซ้ำบ่อยๆ
ผมดาวน์โหลดลงมาได้แล้ว จะหาเวลาอ่านซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะเข้าใจ
รินทร์ - บินนาน


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.