Phenomenology of Perception (1945) by Maurice Merleau-Ponty [PDF]


หนังสือเล่มนี้เป็นการเปิดโลกความเข้าใจในสัญชาน (perception) ของประสบการณ์มนุษย์ที่ผ่านอายตนะของร่างกายเป็นครั้งแรก ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับ Merleau-Ponty เป็นอย่างมาก. ความจริงแล้ว Merleau-Ponty เคยเขียนหนังสือที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์สัญชานและจิตวิทยาเกสตัลต์ (gestalt psychology) มาก่อนแล้ว แต่เขามาลงตัวในหนังสือเล่มนี้. เขานำจิตวิทยาเกสตัลต์ ซึ่งเป็นทฤษฎีจิตวิทยาที่วิเคราะห์การจัดระเบียบกระบวนการคิดในการรับรู้สิ่งรอบตัวอย่างองค์รวม (totality) -- ซึ่งเกิดขึ้นเป็นลำดับแรก หรือพร้อมๆกับสัญชานที่รับรู้ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เพราะในการจัดระเบียบความคิดนั้น จิตถือว่าเป็นสิ่งก่อรูปองคาพยพโดยรวมที่ซับซ้อนต่ออันตรกิริยา (interaction) ที่มีต่อสิ่งเร้าภายนอก -- มาวิเคราะห์อย่างละเอียด ซึ่งแม้ว่าเขาจะไม่ได้โยงความสัมพันธ์กับปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาอย่างเด่นชัดเท่าไรนัก และดูเหมือนจะมีพื้นฐานความคิดมาจาก Cartesian Meditations ของ  Edmund Husserl แต่กระนั้น Merleau-Ponty ก็นับว่าสำเร็จแล้วที่เขาสามารถทำการวิเคราะห์โครงสร้างของสัญชานในเชิงภววิทยา (ontology) ไว้ในหนังสือเล่มนี้ได้อย่างครบถ้วน. . .

ใครที่ได้อ่านหนังสือ 'ทรฺศนปราสาทนครวัด' ของผมคงจะทราบว่า ผมได้นำทฤษฏีในเรื่องของ temporality ที่ Merleau-Ponty วิเคราะห์ต่อจาก Husserl ในหนังสือเล่มนี้มาประยุกต์เพื่อวิเคราะห์ การถดถอยของกาละ-เทศะ (time-space deminution) ที่สัมพันธ์กับขอบเขตของยุค (yuga boundary) ในผังของปราสาทนครวัดด้วย. และหากอ่านหนังสือเล่มนี้ของ Merleau-Ponty ดีๆ จะสังเกตได้ว่า แนวคิดของเขาคล้ายคลึงกับหลักอภิปรัชญา (metaphysics) ของสำนักสำขย-โยค ตามที่ผมเขียนคร่าวๆไว้ในหนังสือของผม อยู่ไม่น้อยเช่นกัน -- และความจริงแล้วหากใครได้ศึกษาปรัชญาเปรียบเทียบของตะวันออกและตะวันตกแล้ว จะเห็นได้ว่ามุมมองปรัชญาแบบ dualism และ monism ก็ปรากฏมาแต่โบราณก่อนแล้วในอินเดียเช่นกัน.

ดังนั้นใครที่สนใจปรากฏการณ์วิทยาในสถาปัตยกรรม คงหลักเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอ่านครับ เพราะประสบการณ์ทางสถาปัตย์ เป็นประสบการณ์ที่ผ่านอายตนะของมนุษย์โดยตรง โดยเฉพาะการรับรู้ทางสายตา (visual sense) ที่มีต่อรูป (form) และการรับรู้ทางสัมผัส (haptic sense) ที่มีต่อปริภูมิ (space). หนังสือเล่มนี้อ่านยากหน่อย แต่หากค่อยๆอ่านแล้วจับประเด็นและคิดตามก็จะทำให้เข้าใจได้ครับ แม้อาจจะไม่ครบถ้วนทั้งหมดก็ตาม.

ดาวน์โหลด ฉบับเต็ม PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0WmVjaDJHMGg4U1E/edit?usp=sharing

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.