The Last Manchu: The Autobiography of Henry Pu Yi, Last Emperor of China (1967) by Aisin-Gioro Pu Yi [Intro & Part I:Chap.1-7 | PDF]


ใครที่เคยดูภาพยนต์เรื่อง The Last Emperor (1987) ของ Bernardo Bertolucci ผู้กำกับชื่อดังของอิตาลี (เพลงประกอบโดย Ryuichi Sakamoto ที่ยังฝังอยู่ในความทรงจำของผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งผม) คงจะตราตรึงใจในโชคชะตาของจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและของประเทศจีนอยู่ไม่น้อย. ยิ่งหากใครได้อ่านอัตชีวประวัติโดยละเอียดของปูยีเล่มนี้แล้ว คงจะรู้สึกได้ว่า นับจากวันที่ปูยีขึ้นมาเป็นจักรพรรดิของประเทศที่มีเขตแดนกว้างใหญ่ไพศาล และมีประชาราษฏร์ที่ต้องให้ปกครองกว่าหนึ่งในสี่ของโลก จนกระทั้งวันที่ต้องกลายมาเป็นสามัญชนในระบอบเผด็จการคอมมิวนิสม์จวบวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น เขาไม่ได้ประสีประสาอะไรเอาเสียเลยกับเรื่องการเมืองการปกครองรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจของโลก. สิ่งที่ปูยีต้องการตลอดชีวิตคือการรักษาฐานะของตนเองที่เขาคิดว่า นั่นคือการเป็นตัวของตัวเองเท่านั้น. . .

เขาถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง นับจากวันแรกที่ถูกแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิโดยจักรพรรดินีฉือสี่ (ซูสี) โดยไม่มีอำนาจใดๆอย่างแท้จริง ท่ามกลางความฉ้อฉลของขันทีที่อยู่โดยรอบในขณะที่ยังเป็นระบอบเดิม หรือการมีแต่ชื่อเพียงว่าเป็นจักรพรรดิในระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐใหม่ก่อนที่จะถูกเฟ่งยู่เสียงอัปเปหิให้ออกจากราชวังต้องห้ามในเวลาต่อมา; หลังจากเป็น playboy ในเทียนสินอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นเขายอมมาเป็นหุ่นเชิดของญี่ปุ่นให้ใช้เขาเป็นเครื่องมือในการครอบครองแมนจูกัว จนตนเองต้องกลายมาเป็นอาชญากรสงคราม ก่อนถูกส่งตัวเข้าสถานบำบัดพฤติกรรม และเปลี่ยนสถานะมาเป็นสามัญชนคนทำสวนในที่สุด.

ในความรู้สึกของปูยีแล้ว เขาไม่ได้มีอิสระที่จะทำอะไรได้อย่างที่ตนเองต้องการจะทำอย่างแท้จริง หรือกล่าวได้ว่าเขาไม่ต่างกับนักโทษผู้ถูกจองจำอยู่ในราชวังต้องห้ามของตนเองในช่วงชีวิตสิบหกปีที่อยู่ในนั่น หรือเหมือนถูกจับเป็นตัวประกันภายใต้การแสวงหาอำนาจในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจีน และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง. หนังสือเล่มนี้ให้ข้อคิดไม่น้อย และทำให้ผู้อ่านทั้งรังเกียจและเวทนาเขาไปพร้อมๆกัน แต่สิ่งหนึ่งที่รู้สึกได้ก็คือ เขานับว่าซื่อสัตย์กับตนเองในการบอกเล่าให้ผู้อื่นเขียนประวัติส่วนตัวในนามของเขา เพื่อเป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจบริบทหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศจีน. ดังนั้นใครที่สนใจประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ ควรแสวงหามาอ่านครับ.

ในที่นี้ผมตัดนำมาให้อ่านได้แต่ Preface & Introduction โดย Paul Kramer และ Part I: My Childhood ซึ่งประกอบด้วย ๗ บท ตั้งแต่ปูยีต้องถูกพรากจากมารดาให้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิของจีนเมื่ออายุเพียงสองขวบสิบเดือน จนถึงวัยเด็กเมื่อชาวอังกฤษ Reginald Johnston เข้ามาเป็นครูในราชสำนัก และเปิดโลกกว้างภายนอกให้แก่เขา -- ต่อมา Johnston ได้เล่าประสบการณ์ของเขาในราชสำนักจีนไว้ในหนังสือชื่อ Twilight in the Forbidden City (1934) ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้ Bertolucci สร้างภาพยนตร์เรื่อง The Last Emperor. หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับแปลอีกสำนวนหนึ่ง (เคยมีแปลไว้ก่อนนี้แล้วในปี 1964 ชื่อ From Emperor to Citizen, 2 vols ซึ่งผมมีแต่ vol.2 จึงเอาฉบับแปลสำนวนนี้มาให้อ่านกันแทน) คงหาอ่านยากหน่อย แต่ผมเห็นใน Amazon มีฉบับ Kindle ให้โหลดอ่านกันอยู่ครับ.

ดาวน์โหลด >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0OW5UemxsRl9UNGc/view?usp=sharing

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.