Angkor Wat Time, Space, and Kingship (1998) by Eleanor Mannikka [Excerpts from Introduction, Chap 1, 5 | PDF]
หากตัดเนื้อหาในส่วนของการตีความหมายว่าด้วย intentionality ของปรสาทนครวัดออกไปแล้ว หนังสือเล่มนี้นับว่าเปิดมุมมองทางประติมานวิทยาที่สัมพันธ์กับจักรวาลวิทยาฮินดูและดาราศาสตร์ได้อย่างดีมาก โดยเฉพาะการตีความหมายภาพแกะสลักนูนต่ำ (basrelief) ของฉากการกวนเกษียรสมุทร ที่ผนังฝั่งตะวันออกปีกทิศใต้ ซึ่ง Mannikka อธิบายได้อย่างไม่มีข้อสงสัยทีเดียว. แต่เรื่องการวิเคราะห์ระยะทั้งหลายของปราสาทนั้น ในบทต้นๆก็ชัดเจนดี -- ซึ่งโดยมากก็มาจากบทความที่เธอทำร่วมกับ Robert Stencel และ Fred Gifford หลายปีก่อนหนังสือเล่มนี้ (ซึ่งผมให้โหลดอ่านก่อนนี้) -- แต่พอยิ่งอ่านไปเรื่อยๆยิ่งทำให้รู้สึกว่าเธอ obsess อยู่กับ numerology จนเกินล้น -- ยิ่งสมมุติฐานที่ล่องลอยของเธอ เพื่อเพิ่ม/ลดตัวเลขโดยการกำหนดระยะการเดินวนรอบประติมากรรรมในโคปุระ เพื่อใช้เป็นตัวเลขไว้ทด เพื่อจะได้บวกลบให้ได้ตัวเลขที่เธอต้องการ หรือการดูทางเดินของเงา ซึ่งลอยออกมาจากจินตนาการของเธอล้วนๆ อ่านแล้วยิ่งไม่น่าเชื่อถือเอาเสียเลย. ผมจึงตัดส่วนของ Introduction ที่เธออธิบายแนวคิดเบื้องต้นและ conjecture ของเธอ Chapter 1 ที่อธิบายเรื่องความหมายของระยะ โดยเฉพาะทางเดินข้ามคูน้ำสู่มหาโคปุระ และ Chapter 5 เฉพาะส่วนที่อธิบายฉากการกวนเกษียรสมุทร มาให้อ่านกันครับ.
ดาว์นโหลด PDF >>> http://goo.gl/HvOHOI
Post a Comment