The Art of Loving (1956) by Erich Fromm [Chap.I-II | PDF]
"ใครที่ไม่รู้ในเรื่องใดๆ ย่อมไม่รักในสิ่งใดๆ. ใครที่ทำอะไรไม่เป็น ย่อมไม่อาจเข้าใจในสิ่งใดๆได้. ใครที่ไม่อาจเข้าใจในสิ่งใดๆได้ ย่อมไร้ค่า. แต่ใครที่อาจเข้าใจได้ ย่อมรักได้ ย่อมสังเกตได้ และเห็นได้. . . ความรู้หากยิ่งเพิ่มพูนอยู่ภายในสิ่งใด ความรักย่อมยิ่งพอกพูนอยู่ในสิ่งนั้นมากขึ้นเป็นทวี. . .ใครที่จินตนาการเอาเองว่า ผลไม้ทั้งปวงต่างสุกพร้อมกันกับผลสตอร์เบอร์รีฉันใด ย่อมไม่ประสีประสาในเรื่องราวของผลองุ่นฉันนั้น." Paracelsus (1493-1541)
ประโยคข้างต้น ปรากฏในหนังสือ The Art of Loving (1956) ของ Erich Fromm เล่มนี้ ซึ่งสามารถสรุปสิ่งที่ Fromm อธิบาย อันเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมายของของความรักได้อย่างครบถ้วนจริงๆ เพราะความรักไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ ความซาบซึ้ง (sentiment) ที่ใครๆจะตกหลุมรัก (falling in love) อย่างบังเอิญ อันขึ้นกับโชคชะตาหรือบุพเพสันนิวาส (serendipity) แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนควรที่จะรู้และเข้าใจในสัตตของความรัก (being/standing in love) ต่างหาก จึงอาจที่จะค้นพบความรักที่แท้จริงได้. ความแตกต่างระหว่างการทำตนให้เป็นที่น่าดึงดูดใจ (attractive) กับการทำตนให้เป็นที่รัก (lovable) นั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่โดยค่านิยมของสังคม ที่โดยมากยังขาดความเข้าใจในความรัก และมองว่าความรักเป็นปัญหาเชิงวัตถุ (object) มากกว่าปัญหาเชิงสมรรถพล (faculty) นั้น กลับทำให้นยะของความรัก ถูกบิดเบือนและวิบัติจากสิ่งที่ควรเป็น เช่น ความเชื่อที่ว่าความดึงดูดกันและกันระหว่างคนสองคน (object ทั้งสอง ที่ต่างเลือกสรรกันอย่างที่สุดแล้ว) อันนำไปสู่การสมรสและมีเพศสัมพันธ์ (consummation) นั้น คือ "ความรัก". ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ของ Fromm จึงเปิดความเข้าใจในการเรียนรู้ความหมายของความรักได้อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน. . .
Fromm เป็นนักจิตวิทยาและนักปรัชญา และเป็นหนึ่งในปราชญ์ของสำนักแฟรงก์เฟริต (Frankfert School)--สำนักที่ขยายความคิดของ Marx ให้กว้างขวางในทางสังคมวิทยา ซึ่งประกอบด้วยนักปรัชญา นักมานุษยวิทยา และ ฯลฯ ของ Goethe University ที่รวมตัวกันในการแลกเปลี่ยนความคิด--ที่มีชื่อเสียงในวงวิชาการทางมาตั้งแต่หนังสือฉบับภาษาอังกฤษชื่อ Escape from Freedom (หรือ Fear of Freedom) ของเขาถูกตีพิมพ์ในปี 1941; ซึ่ง The Art of Loving เล่มนี้ก็เป็นส่วนขยายมาจากหนังสือเล่มนี้เช่นกัน--กอปรกับ Man for himself: An Inquiry into the Psychology of Ethics (1947)--และเป็นเล่มที่สร้างชื่อเสียง ทำให้ Fromm เป็นที่รู้จักกันในในหมู่ผู้อ่านทั่วไปมากยิ่งขึ้น.
Fromm เริ่มจากการตั้งคำถามว่า ความรักคือศิลปะหรือไม่? โดยสมมุติฐานของเขาแล้วคือใช่. ดังนั้นหากมันเป็นงานศิลปะแล้ว เรา--หรือมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ผู้มีความคิดอันแปลกแยก (alienation) เป็นพื้นฐานและขัดแย้งกับสภาพของตนอยู่แล้ว--ควรต้องใช้ความพากเพียรในการเรียนรู้และปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพื่อไปสู่ความสำเร็จในการเข้าถึงศิลปะประเภทนี้ เพราะการบังเกิดของความรักอันแท้จริงนั้น ไม่มีขั้นตอนหนึ่ง-สอง-สาม-สี่ แต่เป็นสิ่งที่แต่ละคนจะต้องครุ่นคิดด้วยความพิเคราะห์ (discernibility) การฝึกฝนตนให้เกิดทักษะ (dexterity) เท่านั้น.
Fromm กำหนดทฤษฎีความรักของเขาในเชิงปรัชญาและจิตวิทยาไว้อย่างน่าสนใจมาก โดยเฉพาะความคิดว่าด้วย guilt และ anxiety--ทั้งจากตนเองและจากสังคมโดยรอบ อันเป็นที่มาของความรู้สึกโดดเดี่ยวและการแสวงหาความพึ่งพิง--และสหสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์ (symbolic union) อันอาจเป็นทั้งในเชิงชีววิทยา (biologic) หรือในเชิงจิตวิทยา (psychic) ซึ่งอาจมีสภาพที่เป็นได้ทั้ง active (giving ในเชิงบวก, dominating ในเชิงลบ) หรือ passive (received ในเชิงบวก, submitted ในเชิงลบ) ที่ต่างต้องพึ่งพากันและกัน; โดย Fromm ย้ำว่า ความรักที่แท้จริงนั้น ควรต้องมีผลในเชิง active ที่เป็นบวก หรือ giving เท่านั้น. จากนั้นเขาได้แยกแยะและให้ความหมายของความรักในหนังสือเล่มนี้ไว้หลายประเภท ทั้ง: ความรักระหว่างลูกและพ่อแม่, ความรักแบบภราตฤภาพ (brotherly love), ความรักแบบมาตาภาพ (motherly love), ความรักแบบกามารมณ์ (erotic love), ความรักในตนเอง (self-love), และความรักในพระเจ้า (love of God) ซึ่งทั้งหมดนั้นต่างล้วนต้องมีพื้นฐานอันประกอบด้วยความเอื้ออาทร (care) ความรับผิดชอบ (responsibility) ความเคารพ (respect) และความรู้-ความเข้าใจ (knowedge) โดย Fromm ได้อธิบายความหมายและภาวะที่อาจบิดเบือนไปขององค์ประกอบเหล่านี้ไว้ให้แล้วทั้งหมด.
เนื่องจากงานทั้งหมดของ Fromm ยังไม่เป็น public domain ดังนั้นผมจึงตัดเฉพาะสองบทแรกมาให้อ่านเท่านั้นครับ. รายละเอียดของสิ่งที่ Fromm บรรยายล้วนน่าสนใจ เพราะเกี่ยวข้องกับความคิดของเราทั้งสิ้น และมีมากเกินกว่าที่ผมบรรยายให้เป็นพื้นฐาน. ส่วนใครที่สนใจจะอ่านอีกสองบทที่เหลือ คงไม่ยากที่จะหาอ่าน เพราะหนังสือเล่มนี้ของ Fromm เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และยังตีพิมพ์อยู่มาจนทุกวันนี้.
ดาวน์โหลด Chap.I-II >>> https://drive.google.com/file/d/0B-pnQPT61FsJNFFYSzBKdXM1Mk0/view?usp=sharing
ช่วงที่ลูกคนโตของผมอยู่ชั้นม.ต้น ซึ่งเริ่มโตพอที่จะเป็นตัวของตัวเองแล้ว ผมแนะนำบทเพลงหนึ่งให้เธอได้รับฟังและให้ค้นหาความหมายจากเนื้อหาของเพลงด้วยตนเอง. สิ่งที่เธอเรียนรู้จากเพลงนี้ ยังคงประทับอยู่ในความทรงจำของเธอเสมอมาตราบจนทุกวันนี้. และล่างนี้คือเนื้อเพลงและคำแปลที่ลูกคนโตของผมแปลและตกทอดมาให้น้องของเธอได้เรียนรู้ต่อมา. . .
Greatest Love Of All
written by George Benson/performed by Whitney Houston
I believe the children are our future
ฉันเชื่อว่าเด็กๆคืออนาคตของพวกเรา
Teach them well and let them lead the way
จงสอนเขาในสิ่งที่ดี แล้วปล่อยให้เขานำทางชีวิตของตน
Show them all the beauty they possess inside
จงแสดงให้เขาเห็น ถึงความงามทั้งหมดที่เขาครอบครองอยู่ภายใน
Give them a sense of pride to make it easier
จงมอบความรู้สึกภาคภูมิใจให้กับเขา เพื่อเขาจะสามารถทำทุกสิ่งให้ง่ายขึ้น
Let the children's laughter remind us how we used to be
จงให้เสียงหัวเราะของเขา คอยเตือนเราถึงอดีตที่เราเคยเป็น
Everybody searching for a hero
เมื่อใครๆต่างพยายามค้นหาคนสำคัญสักคน
People need someone to look up to
ด้วยต้องการใครบางคนไว้เทิดทูน
I never found anyone who fulfill my needs
แต่ฉันไม่เคยพบแม้สักคนที่อาจเติมเต็มในสิ่งที่ฉันหวัง
A lonely place to be
สภาพอันโดดเดี่ยวเช่นนั้น
So I learned to depend on me
ทำให้ฉันได้เรียนรู้ที่ต้องพึ่งตนเอง
Chorus:
I decided long ago, never to walk in anyone's shadows
ฉันได้ตัดสินใจนานมาแล้วว่า จะไม่เดินอยู่ใต้ร่มเงาของใคร
If I fail, if I succeed
หากฉันจะล้มเหลว หากฉันจะสำเร็จ
At least I live as I believe
อย่างน้อยฉันก็ยืนหยัดอยู่ในสิ่งที่ฉันเชื่อ
No matter what they take from me
ไม่ว่าจะมีใครมาแย่งสิ่งใดๆไปจากตัวฉัน
They can't take away my dignity
พวกเขาไม่มีวันที่จะแย่งศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจไปจากตัวฉันได้
Because the greatest love of all
นั่นเพราะความรักอันยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาทุกสิ่ง
Is happening to me
กำลังบังเกิดขึ้นกับตัวฉัน
I found the greatest love of all
ฉันค้นพบความรักอันยิ่งใหญ่แล้ว
Inside of me
ภายในตัวของฉันเอง
The greatest love of all
ความรักอันยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาทุกสิ่งนั้น
Is easy to achieve
มันง่ายดายที่จะได้มาอยู่กับตัว
Learning to love yourself
เพียงเรียนรู้ให้รักตนเองเป็น
It is the greatest love of all
นั่นก็คือความรักอันยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาทุกสิ่งแล้ว
I believe the children are our future
ฉันเชื่อว่าเด็กๆคืออนาคตของพวกเรา
Teach them well and let them lead the way
จงสอนเขาในสิ่งที่ดี แล้วปล่อยให้เขานำทางชีวิตของตน
Show them all the beauty they possess inside
จงแสดงให้เขาเห็น ถึงความงามทั้งหมดที่เขาครอบครองอยู่ภายใน
Give them a sense of pride to make it easier
จงมอบความรู้สึกภาคภูมิใจให้กับเขา เพื่อเขาจะสามารถทำทุกสิ่งให้ง่ายขึ้น
Let the children's laughter remind us how we used to be
จงให้เสียงหัวเราะของเขา คอยเตือนเราถึงอดีตที่เราเคยเป็น
(Chorus)
And if by chance, that special place
แล้วหากบังเอิญว่า เป้าหมายอันยิ่งใหญ่
That you've been dreaming of
ที่เธอกำลังใฝ่ฝันเสมอมานั้น
Leads you to a lonely place
กลับนำเธอให้อยู่ในสภาพอันเปล่าเปลี่ยวแล้ว
Finding your strength in love
จงค้นหาความเข้มแข็งในใจเธอ ด้วยความรักในตัวของเธอเอง
[เฟิร์นแปล/พ่อเรียบเรียง ๑ พค. ๒๕๔๙]
Post a Comment