The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (1883-1896), 12 vols trans. by Kisari Mohan Ganguli [PDF]


ในบรรดาวรรณกรรมโบราณทั่วโลก คงไม่มีวรรณกรรมร้อยกรองเรื่องใดที่รจนาได้อย่างยืดยาวเท่ากับ มหาภารต ของท่านวฺยาส เรื่องนี้--ในจำนวนทั้งหมด ๑๘ ปรฺว (บรรพหรือเล่ม) นับแล้วมากกว่าหนึ่งแสนโศฺลก (บท) หรือหากจะนับเป็นจำนวนบรรทัด ก็ได้มากกว่าสองแสนบรรทัด! มากกว่า Iliad และ Odyssey รวมกันเสียอีก--และยังเป็นที่มาของบทกวีเชิงปรัชญาฮินดูโยคะเรื่อง ภควตฺคีตา อันลึกซึ้งอีกด้วย. หากจะให้บรรยายเรื่องราวในมหากาพย์เรื่องนี้ คงจะต้องร่ายกันยาวที่เดียว; แต่หลายท่านคงทราบแล้วว่า เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับราชวงศ์อินเดียโบราณที่มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่ต้องมาเป็นคู่ขัดแย้งกันสองวงศ์ อันคือ ห้าอนุชาแห่งราชตระกูลปานฺทว และหนึ่งร้อยหนึ่งอนุชาแห่งราชตระกูลเการว (ร้อยโอรสของกษัตริย์ธฤตราษตฺรที่เกิดจากการโคลนนิ่งกับนางคณฺธริ และยุยุตฺสที่เกิดกับนางศุฆท) ที่สุดท้ายต้องมารบกันในสงครามที่ทุ่งกุรุเกฺษตร. แต่แก่นสารที่น่าสนใจของวรรณกรรมเรื่องนี้ อยู่ที่รายละเอียดที่สอดแทรกความคิดเชิงจริยธรรมในการครองชีวิต และปรัชญาฮินดูไว้อย่างลึกซึ้งต่างหาก. . .

แต่กระนั้น สำหรับความคิดของคนสมัยใหม่แล้ว ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติโบราณของราชสำนักอินเดียบางอย่าง ที่เมื่อได้อ่านแล้วอาจทำให้รู้สึกขัดแย้งเป็นอย่างยิ่งกับความคิดเชิงจริยธรรม โดยเฉพาะกรณีที่นางเทฺารปทีเป็นชายาร่วมของพี่น้องปานฺทว--ในลักษณะของ polyandry แม้ว่านางเทฺารปทีจะได้พรให้เป็นสาวพรหมจรรย์ทุกครั้งที่เปลี่ยนคู่ คราวละหนึ่งปี หลังจากประกอบพิธีอคฺนีปริกษ--ซึ่งกรณีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และจริยธรรม. แต่กระนั้น สารัตถะของมหาภารต ยังคงทรงอิทธิพลต่อความคิดและจริยธรรมของภารตชนมานานหลายพันปี เพียงแต่ชนชั้นสูงของไทยในอดีตอาจเห็นว่าไม่เข้ากับจริตแบบไทย จึงไม่ได้นำมาแปลงเป็นร้อยกรองให้แพร่หลายเหมือนอย่างรามยน. เอาไว้ผมจะนำฉบับย่อของมหาภารต และหนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องนี้มาให้อ่านกันอีกครั้งครับ. ช่วงนี้ก็ลองอ่านกันไปก่อน หากจริงจังที่จะศึกษาอย่างแท้จริง.

ชุดหนังสือที่ผมนำมาให้โหลดกันนี้ เป็นฉบับแปลของ Kisari Mohan Ganguli (ไม่ใช่ของบรรณาธิการ Pratap Chandra Roy ซึ่งเข้าใจผิดกันโดยมาก) ซึ่งเป็นการแปลจากร้อยกรอง บทต่อบท ให้เป็นร้อยแก้วที่สมบูรณ์ที่สุด โดยไม่มีการตัดทอนแต่อย่างใด ดังนั้นในชุดนี้จึงมีทั้งหมด ๑๒ เล่ม (ครบทั้ง ๑๘ บรรพ) นับแล้วก็ประมาณสี่พันหน้า! ดังนั้นใครที่ตั้งใจจะอ่าน คงต้องมีความอุตสาหะ และใช้เวลานานพอควรทีเดียว--ผมก็ไม่ได้อ่านครบทุกเล่ม เพราะเลือกอ่านเฉพาะบางประเด็นที่สนใจและถูกอ้างอิงในหนังสือเล่มอื่นๆเท่านั้น.

ดาวน์โหลด์ชุด PDF ฉบับเต็ม (128MB) >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0TDBuLWdzVmk2Szg/view?usp=sharing

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.