Roger Waters The Wall (2014)
ผมเพิ่งได้ดู Roger Waters The Wall (2014) แล้ว รู้สึกทึ่งมากในการสร้างสรรค์ดนตรี-กราฟิก ที่เชื่อมโยงกับประวัติส่วนตัวของ Waters (รวมทั้งความคิดต่อต้านสงครามของเขา) ซึ่งประสานกันได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ แม้ว่าการแสดงบนเวทีไม่ได้ต่างจาก The Wall Live Tour เมื่อปี 1980 เท่าไรนัก--ผมเคยดู VHS video ของ The Wall Live Tour 1980 เมื่อกว่าสามสิบปีที่ผ่านมา ที่แม้จะไม่ชัดเอาเสียเลย แต่ก็นับว่าน่าตื่นเต้นแล้ว; แต่นี่ ด้วยเทคโนโลยีและการออกแบบกราฟิกสมัยนี้ ใครเป็นแฟนเพลงของ Waters หรือ Pink Floyd ที่ยังไม่เคยชม จงรีบไปหาชมกันได้แล้วครับ--เพราะเราคงไม่มีปัญญาได้ชมการแสดงแบบสดๆเป็นแน่ เนื่องจากหากจะดูก็ต้องบินไปดู และ tour ของเขาช่วงปี 2010-2013 ก็จบไปแล้ว (ด้วยอายุของ Waters ขณะนี้ ผมว่าคงยากที่เขาจะเดินสายอีก) อีกทั้งราคาตั๋วก็สุดจะแพง อย่างทัวร์ในสหรัฐฯ ราคาต่ำสุดๆอยู่ที่เกือบ $300 แล้ว! (แพงสุดอยู่ที่ $750!). แต่ที่ผมประหลาดใจมากก็คือ คนดูคอนเสริตโดยมากที่เห็น ไม่ใช่รุ่นผมหรือแก่กว่า แต่กลับเป็นรุ่นลูกของผม (หรือว่าคนแก่ไปหลบกันอยู่ตรงแถวหลังๆก็ไม่ทราบได้). . .
ความจริงแล้ว Fink Floyd (ยุค 1968-1979) เป็นวงที่แสดงสดไม่ได้เรื่องเท่าไรนักสำหรับผม--เท่าที่ผมเคยฟังจากการ บันทึกแบบ official (Live at Pompeii) หรือ bootleg หรือ soundboard มาทั้งหมด หากตัดเรื่องคุณภาพของเสียงออกไปแล้ว--เพราะแทบจะไม่มีการแทรก improvisation และพวกเขาก็ไม่สามารถทำได้ดีกว่าใน studio (ต่างกับบางวง อย่างเช่น Dire Straits ที่ Mark Knopfler จัดการ arrange เพลงใหม่เพื่อการแสดงสด และเขาทำได้ดีกว่าใน studio มาก)--อาจเพราะเหตุนี้ Pink Floyd จึงเอาความตื่นตาตื่นใจบนเวทีมาเกลื้อนจุดด้อยของตนเพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ เพลงของพวกเขามากขึ้น เว้นแต่ The Wall ที่ Waters ตั้งใจที่จะทำ concept album ให้เป็นเหมือน opera เพื่อการแสดงสดตั้งแต่ต้น--แต่หากเปรียบเทียบการแสดงสดยุคหลังของ Pink Floyd ( Gilmour, Mason, Wright) กับ Waters แล้ว Waters ทำไดีดีกว่ามาก อย่างเช่นใน In the Flesh (2000) และยิ่งใหญ่กว่าใน live+documentary เรื่องนี้ ซึ่งพอจะบ่งบอกอย่างหนึ่งได้ว่า which one's Pink?
ปล. ในเรื่อง เห็น Waters หยิบนวนิยายเรื่อง Fear: A Novel of World War I ของ Gabriel Chevallier มาอ่านหน้าหลุมศพของบิดาของเขาด้วย. แต่ที่อ่านนั้นเป็นย่อหน้าหนึ่งในคำนำของ John Berger ซึ่งข้อความในนั้นเขียนว่า:
"Most rulers lie, yet lies are less shocking, less corrosive than the chosen, cultivated ignorance Chevallier addresses here. This ignorance denies the reality of anything which provokes pity. It is an error to think of such war leaders (or, today, economic strategists) as pitiless; they are abject. And this is what we have to learn and act upon. They are abject."
แค่ท่อนนี้ คงพอที่จะบ่งบอกได้ว่า นวนิยายเรื่องนี้ควรค่าแก่การอ่านมากน้อยแค่ไหน. . .
Post a Comment