มาตราวัดระยะและสัดส่วนในสถาปัตยกรรมฮินดู: กรณีศึกษา ปราสาทนครวัด • เกียรติขจร ชัยเธียร

ในการวิเคราะห์ระยะของปราสาทนครวัดในงานเขียนของ Stencel et al., และ Snodgrass ซึ่งพยายามแปลความหมายของระยะในเชิงสัญลักษณ์ โดยแปลงค่าระยะในหน่วยเมตริกให้เป็นหน่วย “หัต“ (hat) ของเขมรโบราณ ซึ่งมาจากหน่วย “หัสฺต” (hasta) ของอินเดียโบราณที่วัดระยะจากคิ้วถึงปลายนี้วกลางเมื่อเหยียดแขนจนสุด (คล้ายกับหน่วย cubit ของอียิปต์โปราณ) แต่ทั้งสองใช้มาตราส่วนที่แตกต่างกัน จนอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจไปว่าหน่วยที่ใช้ในการออกแบบแต่โบราณนั้นไม่มีมาตรฐานของระยะที่แน่นอนแต่อย่างใด อาจแปรผันไปได้ตามสัดส่วนทางสรีระของแต่ละบุคคล

ในบทความนี้จะแสดงให้เห็นว่าหลักเกณฑ์ของการกำหนดระยะและค่ามุมของปราชญ์ อินเดียโบราณนั้นไม่ใช่ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ไม่มีมาตรฐาน แต่มาจากสัดส่วนที่เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์และจักรวาล อันเป็นเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางฟิสิกต์ดาราศาสตร์ ที่เกี่ยวเนื่องกับสัณฐานของโลกและแรงโน้มถ่วง และเป็นหลักการเดียวกันกับวิธีการกำหนดมาตรฐานของหน่วยปัจจุบัน อันเป็นการเปิดประเด็นใหม่ของกระบวนการวิธีกำหนดมาตรฐานของหน่วยทาง สถาปัตยกรรมที่เราใช้เป็นกรอบในการอธิบายสัดส่วนทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน ทางศาสนาฮินดูต่างๆในภูมิภาคนี้ เพื่อประโยชน์ในการบูรณะ หรืออาจเป็นแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่อาจโน้มเอียงให้กลับไปใช้ ระบบหน่วยของโบราณแต่เดิม หรือการกำหนดวิธีการหรือมาตรฐานใหม่ที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนั้นบทความนี้จะได้เสนอทฤษฏีในการออกแบบสัดส่วนของสถาปัตยกรรมฮินดู โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาของ “ปราสาทนครวัด” แห่งอาณาจักรขอมโบราณ ว่าได้นำความรู้ทางเรขาคณิตมาใช้ในการออกแบบสัดส่วนของผังและรูปด้านของปราสาทอย่างไร โดยใช้กรอบแนวคิดการกำหนดสัดส่วนตามทฤษฎีตะวันตกมาอธิบาย ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่มีมาก่อนแล้วในอารยธรรมฮินดูโบราณ อันจะเป็นประโยชน์ในการหาคำตอบในการตีความหมายเชิงสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมต่อไป

>>> ดาว์นโหลดบทความนี้

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.