กำเนิดและอรรถของรูปประติมาในอินเดีย โดย อานนฺท กูมรสฺวามิ [แปล: เกียรติขจร ชัยเธียร | PDF]
บทความนี้แปลจาก บทที่ ๗ ของหนังสือเรื่อง The Transformation of Nature in Art (1934) ของ Ananda K. Coomaraswamy โดย เกียรติขจร ชัยเธียร
ท่าน ‘อานนฺท กูมรสฺวามิ’ (1877-1947) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ตะวันออก ผู้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ่งในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมของอินเดีย (และศิลปะเปรียบเทียบระหว่างตะวันออกและตะวันตก) และเป็นผู้เปิดโลกศิลปะตะวันออกให้แก่ชาวตะวันตกได้รับรู้และตระหนักในคุณค่าที่แตกต่างไปจากงานศิลปะของตะวันตกเช่นไร ทั้งที่ท่านเป็นผู้ได้รับการบ่มศึกษาจากสำนักของตะวันตกโดยแท้ (ท่านเป็นลูกครึ่งศรีลังกา-อังกฤษ) ผลงานของท่านจำนวนนับร้อยยังคงเป็นงานที่สามารถอ้างอิงได้อยู่เสมอ ด้วยเพราะเป็นงานคิดที่มีภาวะเหนือกาลเวลา เหมือนดั่งปรัชญาศาสนาของอินเดียที่ยังคงหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของชนทุกเหล่าได้อย่างต่อเนื่องมานับหลายพันปี ฯสฺยำกุกฺ จึงอยากลำเลียงความคิดของปราชญ์ผู้นี้ เสนอต่อผู้อ่านทุกท่าน เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางศิลปะของอินเดีย ที่เราก็รับอิทธิพลมาเช่นกัน ว่ามีต้นกำเนิดและวัตถุประสงค์ในอรรถอยู่เช่นไร โดยเฉพาะในประเด็นที่อยู่เหนือคำอธิบายทางตำนาน หรือเทวนิยม หรือประติมานวิทยา อันเป็นเพียงขั้นหยาบ อย่างที่นักวิชาการตะวันตกไม่อาจเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งเท่า
>>> ดาว์นโหลดบทความนี้
Post a Comment