สารัตถะแห่งกาละในสถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด • เกียรติขจร ชัยเธียร
ปราสาทนครวัด เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทาง สถาปัตยกรรมมาอย่างยาวนาน จนบรรลุถึงจุดที่สามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเองของสถาปนิกขอมที่หลุดพ้นจาก รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอินเดียที่มีอิทธิพลอยู่ก่อนนี้ได้สำเร็จ ในขณะที่พื้นฐานของแนวคิดกลับแสดงถึงความรู้และความยึดมั่นในความเชื่อและ ปรัชญาทางศาสนาฮินดูอย่างลึกซึ้ง มากกว่าที่เคยปรากฏในศาสนสถานแห่งอื่นๆที่เคยสร้างมาในราชอาณาจักรขอม. นักวิชาการตะวันตกเชื่อว่า การสร้างปราสาทนครวัดเป็นการสำแดงความเป็นเทวราชอย่างแรงกล้าของกษัตริย์สูรฺยวรรมัน ๒ ซึ่งเปรียบพระองค์เป็นอวตารหนึ่งของพระวิษณุ โดยเชื่อมโยงเวลาหรือรัชสมัยของพระองค์เข้ากับคติยุคของฮินดู แต่บทความนี้แสดงให้เห็นว่า การตีความหมายตามสมมุติฐานดังกล่าวนี้ไม่เป็นจริง แม้ว่าความสัมพันธ์ของมิติเวลาตามคติฮินดูและเวลาในรัชสมัยของพระองค์จะ ปรากฏอยู่ในสถาปัตยกรรมของปราสาทนครวัดแห่งนี้ก็ตามนอกจากนั้นการศึกษานี้จะทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาในคัมภีร์สันสกฤตของอินเดียโบราณอันเกี่ยวเนื่องกับความรู้ด้านจักรวาลวิทยาและดารา ศาสตร์ ที่มีผลต่อมโนทัศน์ด้าน "เวลา" ในการออกแบบปราสาทนครวัดที่ได้แฝงความหมายเชิงสัญลักษณ์อยู่ในองค์ประกอบและ สัดส่วนของศาสนสถานแห่งนี้ อันจะช่วยตอกย้ำถึงที่มาของสัดส่วน และเหตุผลของแนวคิดในการจัดปริภูมิ (space) ที่นอกเหนือจากสุนทรียภาพทางศิลปะและสถาปัตยกรรมที่สถาปนิกได้บรรจงสร้าง สรรค์ไว้อีกโสตหนึ่งด้วย.
(บทความวิจัยนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ "ฮอมภูมิ" ครั้งที่ ๑ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕ - ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๖)
>>> ดาว์นโหลดบทความนี้
(บทความวิจัยนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ "ฮอมภูมิ" ครั้งที่ ๑ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕ - ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๖)
>>> ดาว์นโหลดบทความนี้
Post a Comment