ปรากฏการณ์สุริยุปราคาและประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยกษัตริย์สูรฺยวรรมัน ๒ โดย เกียรติขจร ชัยเธียร [PDF]


ความรู้ด้านจักรวาลวิทยาและดาราศาสตร์ของอินเดียโบราณที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สันสกฤตมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องก่อนพุทธกาลแล้ว และหลักฐานในจารึกสมัยกษัตริย์ภววรรมัน ๑ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ปราสาทบาอัน จังหวัดตนเลเลโปว ได้กล่าวถึงการถวายคัมภีร์ปุราณ รามยณะ และมหาภรต อันแสดงให้เห็นถึงการรับความรู้ต่างๆจากอินเดียมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรเจินละหรือก่อนนี้แล้ว หรือในบันทึกของโจวต้ากวานที่กล่าวถึงความรู้ของชาวกัมพูชาในการกำหนดวันในปีปฏิทินและฤดูกาลในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ที่บอกว่า “...บรรดาชาวประเทศก็มีผู้ที่รู้ดาราศาสตร์ สามารถคำนวณสุริยคราสและจันทรคราสได้...”  ทำให้ทราบถึงความรู้ในด้านดาราศาสตร์ ที่ถ่ายทอดมาถึงอารยธรรมขอมในสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน.




จากสมมุติฐานที่น่าเชื่อได้ว่า คัมภีร์ดาราศาตร์อันถือเป็นศาสตร์สูงสุด ลึกลับและศักดิ์สิทธิ์ น่าจะมีอิทธิพลในชนชั้นกษัตริย์และพราหมณ์นี้ โดยคัมภีร์ร่วมสมัยที่น่าจะแพร่หลายในช่วงเวลานั้นน่าจะคือ คัมภีร์สูรฺยสิทฺธานฺต ซึ่งประมาณว่าได้รจนาไว้ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ และปรับปรุงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อันร่วมสมัยกับรัชสมัยของกษัตริย์สูรฺยวรรมัน ๒. บทความนี้จะได้แสดงให้เห็นถึงระดับความสามารถของการคำนวณทางดาราศาสตร์ตามคัมภีร์สูรฺยสิทฺธานฺต ว่าสามารถคำนวณสุริยุปราคาได้แม่นยำขนาไหน. โดยผลที่ได้อาจนำสู่ความเชื่อมโยงในเชิงประวัติศาสตร์และการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น อันอาจทำให้เราสามารถไขปัญหาทางประวิติศาสตร์ของอาณาจักรขอมได้ต่อไป.

>>> ดาว์นโหลดบทความนี้

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.