ปรากฏการณ์ของแกนหลักในสถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด • เกียรติขจร ชัยเธียร

"ปราสาทนครวัด" ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสูรฺยวรรมัน ๒ แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ของอาณาจักรขอมโบราณ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นับเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ขอมโบราณ ที่ถวายแด่องค์พระวิษณุ. การสังเกตแนวการทำมุมของปราสาทนครวัดปรากฏตำแหน่งของจุดสังเกตการขึ้นของดวง อาทิตย์ในวันที่เป็นวสันตวิษุวัต อันเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออกพอดี พบกว่า ณ ตำแหน่งปลายสะพานนาคที่ทอดจากโคปุระทางเข้าทิศตะวันตกสู่ตัวปราสาท แต่การจะสังเกตการขึ้นของดวงอาทิตย์ที่ยอดศิขรปราสาทประธานได้ต้องเคลื่อนตำแหน่งสังเกตไปทางทิศเหนือตรงปลายระเบียงบันไดที่ทอดลงสู่พื้นด้านล่าง จึงทำให้สงสัยว่า สาเหตุเป็นเพราะตัวปราสาทถูกออกแบบหรือสร้างอย่างคลาดเคลื่อนโดยไม่ได้มีแกนทำมุมในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกพอดี ? หรือ เป็นเพราะการเคลื่อนที่ของแกนโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนของแกนและแนวการทำมุมของปราสาท ?

รายงานวิจัยนี้จึงได้อธิบายเหตุผลอันจะแสดงให้เห็นว่าสถาปนิกขอมโบราณนั้นได้ให้ความสำคัญในการออกแบบแกนไว้อย่างไร ด้วยคติและความรู้ทางดาราศาสตร์ที่เข้าใจในสัณฐานของโลก ความสัมพันธ์ของแกนโลกและทางเดินของระบบสุริยะ ดังที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมของปราสาทไว้อย่างไร ก่อนที่จะสรุปให้เห็นถึงบทบาทของปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์และคติจักรวาลเชิงสัญลักษณ์ อันจะทำให้เราสามารถอธิบายปรากฏการณ์ของแกนที่มีอยู่ในปราสาทร่วมสมัยขอมในประเทศไทยเช่น ปราสาทเขาพนมรุ้ง ได้ด้วย.

>>> ดาว์นโหลดบทความนี้

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.