Complexity and Contradiction in Architecture, 2nd Edition (1977) by Robert Venturi [Intro, Preface & Chap. I-VI | PDF]


"Less is more" vs "Less is bore" คือวิวาทะระหว่าง Mies van der Rohe และ Robert Venturi อันกล่าวได้ว่าทั้งสองคือตัวแทนของความต่างระหว่าง modern revolution และ postmodern counterrevolution ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง. นับจากตำราสถาปัตย์ยุค modernism อย่าง Towards a New Architecture (1931) ของ Le Corbusier แล้ว หนังสือ Complexity and Contradiction in Architecture เล่มนี้ถือว่าเป็นตำราฝ่ายปฎิกิริยาใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่สำคัญมากเล่มหนึ่งที่สถาปนิกทุกคนต้องศึกษา เพราะมันนำพาแนวคิดในการออกแบบที่มีอิทธิพลมาจนถึงยุค deconstructivism ในปัจจุบัน ไม่ว่าดังที่ปรากฏอยู่ในงานของ Norman Foster หรือ Peter Eisenmann, หรือที่แหวกแนวกระโดดไปเป็น hyperbole ที่เน้นส่วนจนเกินเลยจากรูปมาตราฐาน (exaggerate) หรือ neofuturistic อย่างเช่น Frank Gehry หรือ Zaha Hadid.

แนวคิดในการออกแบบที่เน้น ความเรียบง่าย (simplicity) สมมาตรและกลมกลืน (symmetry & harmony) ในการออกแบบของแนว modernism ที่ตอบสนองต่อยุค mass production อันมองเห็นสุนทรียภาพในกลไก (machine aesthetic) ของโครงสร้างและวัสดุ ที่ควรให้มันสำแดงออกอย่างที่มันเป็น--ซึ่งเน้นคอนกรีตและเหล็กเป็นหลัก--โดยให้ความสำคัญกับ function ของอาคารเป็นสารัตถะ ตามคติพจน์ของ Louis Sullivan ที่ว่า "form follows function" อันนำพาไปสู่แนวคิดแบบ minimalism ที่เน้นปริมาตร (volume) มากกว่ามวล (mass) และเน้นความโปร่ง (transparent) ทั้งทัศนวิสัยของภายนอกและภายในของอาคารเพื่อให้บังเกิดความจัดแจ้ง-ไม่บดบัง (lucidity) และบ่งบอกสัจจะในเจตนา (intentionality) นั้น ถูกตอบโต้จาก Venturi ว่า. . .

มันน่าเบื่อ! เนื่องจากเขาเห็นว่า สถาปัตยกรรมจะน่าสนใจได้จะต้องมีสิ่งที่เขาเรียกว่า complexity และ contradiction อันนำให้เกิดผลโดนรวมเป็น visual tension ที่ทำให้ผู้ใช้สอยอาคารหรือผู้ได้สัมผัสทางทรรศนะเกิด attention ต่อสถาปัตยกรรมนั้นๆ. Venturi เชื่อว่า องค์ประกอบทางสถาปัตย์ที่เป็นแบบลูกผสม (hybrid) ย่อมดีกว่าแบบบริสุทธิ์ (pure); มีลักษณะที่ผสมผสาน (compromising) ย่อมดีกว่า เรียบดูสะอาดตา (clean); มีการบิดรูปและองค์ประกอบไปบ้าง (distorted) ย่อมดีกว่าทื่อๆ (straightforward); มีนยะที่คลุมเคลือ (ambiguous) ย่อมดีกว่าประสานกันอย่างลงตัวไปทั้งหมด (articulated); ควรมีลีกษณะที่ขัดแย้งกัน (perverse) พอที่จะก่อให้เกิดความเห็นต่าง (impersonal); ให้ความรู้สึกน่าเบื่อได้ (boring) ควบคู่ไปกับความน่าสนใจ (interesting); มีลักษณะธรรมเนียมปฏิบัติ (conventional) อยู่บ้าง แทนที่จะเป็นการคิดใหม่ล้วนๆ (designed); เข้าได้กับองค์ประกอบอื่นๆ (accommodating) มากกว่าจะแยกตัวเองออกมา (excluding); มีการประดิษฐ์ประดอย (redundant) ดีกว่าจะดูพื้นๆ (simple) ไปทั้งหมด; มีร่องรอยของความไม่ลงตัวอยู่บ้าง (vestigial) อยู่ในนวัตกรรม (innovating) ที่คิดใหม่; ความไม่สม่ำเสมอ (inconsistent) และความแฝงนัย (equivocal) มันน่าสนใจมากกว่า การสื่ออะไรที่ตรง (direct) และชัดแจ้ง (clear) เกินไป. ความสับสนในแก่นสาร (messy vitality) และภาวะมากล้นในความหมายทางสถาปัตย์ สำหรับ Venturi แล้ว เหนือกว่าเอกภาพที่สำแดงอย่างชัดแจ้ง (obvious unity) และสื่อความหมายที่มีเพียงเอก. สถาปัตยกรรมควรที่จะประกอบด้วย อรรถะทั้งที่เป็น intrinsic (มีอยู่ภายใน) และ extrinsic (สำแดงให้เห็นอยู่ภายนอก). และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ Venturi สังเกตได้จากพัฒนการของสถาปัตยกรรมที่ผ่านมา โดยเขาสรุปด้วยประโยคที่ว่า "More is not less" ซึ่งเขานำเสนอและอธิบายประเด็นทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้อย่างละเอียดไว้ในหนังสือเล่มนี้ โดยเขาเลือกตัวอย่างสถาปัตยกรรมทั้งเก่าและร่วมสมัยมาประกอบความคิดของเขา ซึ่งเป็นมุมมองที่โดดเด่นและเปิดแนวคิดที่ไม่มีใครเคยกล่าวถึงมาก่อน. ด้วยเหตุนี้ หนังสือเล่มนี้จึงมีพลังและอิทธิพลต่อสถาปนิกในสมัยของเรานี้เป็นอย่างมาก--อย่ามองแต่รูปเล่มและรูปภาพของอาคารเก่าๆที่เหมือนว่าจะเป็นตำราประวัติศาสตร์สถาปัตย์ตะวันตก เพราะเนื้อหาอยู่ในตัวอักษรและนี่คือหนังสือทีกล่าวถึงแนวคิดในการออกแบบสมัยใหม่อย่าง avant-garde ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน. ผมจึงแนะนำให้อ่านกันครับ โดยเฉพาะคนที่สนใจทางสถาปัตยกรรมศาสตร์.

ในที่นี้ผมตัดมาให้อ่านเฉพาะ Preface, Introduction และหกบทแรกคือ 1. Nonstraightforward Architecture: A Gentle Manifesto, 2. Complexity and Contradiction vs. Simplification or Picturesqueness, 3. Ambiguity, 4. Contradictory Levels: The Phenomenon of "Both-And" in Architecture, 5. Contradictory Levels Continued: The Double-Functioning Element, และ 6. Accommodation and the Limitations of Order: The Conventional Element ส่วนที่เหลือลองไปหาอ่านกันเองนะครับ.

ดาวน์โหลด PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0Ykc3NTBMVDh5YTg/view?usp=sharing


ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.