The Catcher In The Rye (1951) by J. D. Salinger [Chap 1-4 | PDF]


บังเอิญไปเห็นโพสหนึ่งจากบทความของ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เรื่อง “ผมอายุ 18 ปี เมื่อปี 2519” ในหนังสือ "เชิงอรรถวัฒนธรรม 2546" ที่อ้างอิงถ้อยความหนึ่งของ J. D. Salinger จากหนังสือ The Catcher in the Rye เล่มนี้ที่ว่า:

"ลักษณะเด่นของผู้ไม่บรรลุวุฒิภาวะคือ เขาต้องการจะตายอย่างสง่างามเพื่ออุดมการณ์ ขณะที่ลักษณะเด่นของผู้บรรลุวุฒิภาวะคือ เขาต้องการจะอยู่อย่างเจียมตนเพื่ออุดมการณ์"

"‘The mark of the immature man is that he wants to die nobly for a cause, while the mark of the mature man is that he wants to live humbly for one.’ "

ทำให้ผมรีบเอามาแนะนำให้อ่านกันก่อน. The Catcher in the Rye เป็นหนังสือสำหรับคนที่เป็นขบถในความคิดและมีความรู้สึกโดดเดี่ยว สับสน แปลกแยกกับสังคมที่อยู่โดยรอบในช่วงยุค '60 หรือที่เรียกว่าสมัยฮิปปี้โดยแท้. วัยรุ่นสมัยนี้หากได้อ่านจะมีความคิดแตกต่างไปอย่างไร ผมไม่แน่ใจ. แต่ที่แน่ๆคือ ความคิดในการแสวงหาตนเองและพร้อมยืนอยู่บทอุดมการณ์ที่กำลังก่อตัวขอตน คงจะไม่แตกต่างกันนัก. เพียงแต่ว่าจุดยืนนั้นๆจะมีต่อสังคมโดยรอบในมุมมองด้านสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยที่เอื้อต่อผู้คนในสังคมที่ด้อยกว่าตนจะมากน้อยขนาดไหน สิ่งนี้ผมไม่แน่ใจ. นวนิยายเรื่องนี้มันปลุกเร้าความเป็นขบถในตนเองที่สร้างความกระตุ้นให้เกิดความอยากเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างทั้งในตนเองและสังคมโดยรอบ. นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นอะไรที่ถกเถียงกันมาก รวมทั้งถูกแบนแม้ในสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ความกลัวคอมมิวนิสม์กำลังขึ้นสมอง. แต่หากได้อ่านจนจบเล่ม คุณจะเข้าใจได้เองว่านยะของนวนิยายเรื่องนี้มันให้อะไรกับผู้อ่านมากมาย โดยเฉพาะความหมายของชื่อเรื่อง The Catcher In The Rye. จึงไม่แปลเลยที่วรรณกรรมเรื่องนี้จะติดอันดับหนึ่งในนวนิยายที่ดีที่สุดของศตวรรษที่ 20 สำหรับ New York Times. ภาษาที่มีอยู่ในนวนิยายเรื่องนี้เป็นไปตามสมัยนิยมขณะนั้น ซึ่งหากคนรุ่นใหม่ขณะนี้มาอ่าน อาจงงเหมือนกัน แต่ก็คงทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก. ดังนั้นผมจึงแนะนำให้อ่านครับ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่.

ในที่นี้ผมตัดมาให้อ่านเฉพาะบทที่ 1-4 คงมีแปลเป็นภาษาไทยอยู่กระมัง ลองไปหาดูกันเองครับ.

ดาวน์โหลด PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0ekVsTThOcVZsSDg/edit?usp=sharing

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.