The Way of Life According to Laotzu (1896) by Witter Bynner [PDF]


ผมยังจำความรู้สึกที่ได้อ่านคัมภีร์เต๋าเต็กเก็งครั้งแรกเมื่อยังเรียนอยู่ชั้นม.ต้น ในฉบับแปลชื่อ วิถีแห่งเต๋า (๒๕๒๑) ของ พจนา จันทรสันติ ได้. มันเปี่ยมไปด้วยความตื่นเต้นในความลุ่มลึกของลีลาการเขียนและความหมายของคำที่ร้อยเรียงอยู่ในแต่ละบทแต่ละบรรทัด. ผมอ่านแล้วอ่านอีกนับมากกว่าสิบเที่ยวในคราวเดียวก่อนจะเก็บเข้าหิ้งแล้วแทบไม่ได้หยิบมาอ่านอีกเลย. ผมคงจะไม่พรรณาถึงตัวคัมภีร์นี้ให้มากความนัก เพราะคัมภีร์นี้เป็นที่รู้จักกันมากพอควรในหมู่ผู้รักการอ่าน. ในที่นี้ผมเพียงอยากกล่าวถึงความแตกต่างในสำนวนการปริวรรตคัมภีร์นี้ในภาษาไทยและอังกฤษ. ในคำนำของพจนา เขาระบุว่าแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ The Wisdom of China (1944) ของ Lin Yutang เป็นหลัก โดยเทียบเคียบกับสำนวนของฉบับ The Way and Its' Power ของ Arthur Waley, Tao Te Ching ของ Ch'u Ta-Kao และ The Texts of Taoism [The Sacred Books Of The East, Vol.#39,40] (1891) ของ James Legge ซึ่งผมได้อ่านแต่ฉบับของ Yutang และ Legge ซึ่งนับว่าพจนาแปลได้ดีและให้ความหมายเหมือนดังตันฉบับทีเดียว. แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผมได้อ่านฉบับแปลภาษาอังกฤษหลายๆสำนวนปรากฏว่า มีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งบางสำนวนให้นยะความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง. . .

ยกตัวอย่างเช่นฉบับแปลใหม่ของ Moss Roberts ในชื่อหนังสือ Dao De Jing: The Book of the Way (2004) ซึ่งนับว่าแปลใช้ได้ทีเดียว แต่หากอ่านเปรียบเทียบกับฉบับอื่นๆแล้วจะเห็นได้ว่า Roberts ให้นยะมีมากกว่าและแตกต่างจากเดิมที่เคยแปลไว้ ซึ่ง Roberts ได้เขียน note อธิบายประกอบให้อ่านด้วย. ลองเปรียบเทียบบทที่ ๒ ของคัมภีร์ ที่กล่าวถึงทวิภาพ (duality) ของสรรพสิ่ง ในสำนวนของพจนาและของ Roberts ที่ผมยกมาให้อ่านล่างนี้จะเห็นความแตกต่าง:

บทที่ ๒

เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยว่าสวย
ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น
เมื่อคนในโลกรู้จักความดีว่าดี
ความชั่วก็อุบัติขึ้น

มีกับไม่มีเกิดขึ้นด้วยการรับรู้
ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยความรู้สึก
ยาวกับสั้นเกิดขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
สูงกับต่ำเกิดขึ้นด้วยการเทียบเคียง
เสียงดนตรีกับเสียงสามัญเกิดขึ้นด้วยการรับฟัง
หน้ากับหลังเกิดขึ้นด้วยการนึกคิด

ดังนั้นปราชญ์ย่อม
กระทำด้วยการไม่กระทำ
เทศนาด้วยการไม่เอ่ยวาจา
การงานทั้งหลายก็สำเร็จลุล่วงลง

ท่านให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง
แต่มิได้ถือตัวว่าเป็นเจ้าของ
ประกอบกิจยิ่งใหญ่
แค่มิได้ประกาศให้โลกรู้
เหตุที่ท่านไม่ปรารถนาในเกียรติคุณ
เกียรติคุณของท่านจึงดำรงอยู่ไม่สูญสลาย

Stanza 2

In every fair the world considers fair
There’s foul;
In every good the world considers good
There’s ill.

For what is what is not yields,
And the harder the easier consummates;
The long the short decides,
And higher lower measures;
Bronze gongs jade chimes join,
And former latter sequence form,
Ever round, and round again.

This is why the man of wisdom
Concerns himself with under-acting
And applies the lesson
Of the word unspoken,
That all ten thousand may come forth
Without his direction,

Live through their lives
Without his possession,
And act of themselves
Unbeholden to him.
To the work he completes
He lays down no claim.
And this has everything to do
With why his claim holds always true.

แต่ฉบับที่ผมเอามาให้อ่านทั้งเล่มนี้เป็นของ Witter Bynner ซึ่งเป็นที่นิยมอ่านกันมากแม้ว่าจะแปลมาเกินกว่าหนึ่งร้อยปีมาแล้ว และใกล้เคียงกับสำนวนของพจนาเช่นกัน. ดังนั้นผมแนะนำให้อ่านหลายๆสำนวนครับ เพราะการแปลบทกวีภาษาจีนโบราณเป็นสิ่งที่ยากที่จะบอกได้ว่าใครแปลถูกแปลผิดกันแน่. และคงเหมือนดังที่เล่าจื๊อกล่าวเป็นนัยถึง mysticism ของเต๋าว่า "เต๋านั้นมิอาจอธิบายและมิอาจตั้งชื่อ" ดังนั้นนยะของบทกวีที่มีลักษณะเป็นปรากฏการณ์ของภาษา (phenomenology of language) จึงควรอ่านด้วยจิตวิญญาณ หาใช่อ่านด้วยตัวอักษรจากตัวบทครับ.

ดาวน์โหลด ฉบับเต็ม PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0TTR5ZHNUd0x0TU0/view?usp=sharing

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.