The Little Match Girl & Other Fairy Tales (1805-1875) by Hans Christian Andersen [PDF], Abridged & Read by Fang [PDF, MP3]


ใกล้ถึงวันคริสต์มาสแล้ว ทำให้ผมนึกถึงวรรณกรรมเยาวชนที่เกี่ยวกับวันนี้ที่น่าขมขื่นสำหรับเด็กผู้ยากไร้ทั่วโลก The Little Match Girl (1845) โดย Hans Christian Andersen นักเขียนเทพนิยายชาวเดนมาร์ก ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก. วรรณกรรมเรื่องนี้ไม่เหมือนเทพนิยายทั่วไปอย่าง Cinderella หรือ Snow White and the Seven Dwarfs เพราะ hallucination จาก hypothermia ที่บังเกิดกับเด็กขายไม้ขีดไฟคนนี้ มันเป็น drama เกินกว่าที่จะเป็น fairy tale. Andersen เขียนเรื่องนี้เพื่อปลุกเร้าความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ (sanctity of humanity) และเตือนให้รฦกถึงเด็กผู้ยากไร้ที่ถูกทารุณกรรมทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งจากครอบครัวและจากสังคม ซึ่งมีอยู่จำนวนมากทั่วโลก อันเป็นการปลูกฝังความเอื้ออาทรต่อผู้ที่ด้อยกว่าในจิตใจของเด็กที่มีโอกาสที่ดีกว่า เพราะ. . .

ความเป็นมนุษย์และศักยภาพของมนุษย์ในการพัฒนาตนเองของเราทุกคนนั้นต่างเท่าเทียมกัน เพียงแต่โลกนี้มีคนจำนวนน้อยบางกลุ่มที่มีอำนาจยังคงพอใจที่จะดำรงความไม่เท่าเทียมกัน โดยการกดขี่คนจำนวนมากเพื่อจะได้ขูดรีด ทั้งแรงงานของพวกเขา และทรัพยากรที่พวกเขามีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของ--ฤๅบ้างที่แสร้งแสดงตนว่ามีความเอื้ออาทร แต่แท้จริงแล้วในจิตใจของพวกเขานั้น ยังคิดอยู่เพียงว่า อย่าหวังว่าจะมาตีตนเสมอพวกเขาได้ ซึ่งประเภทหลังนี้มีอยู่อย่างดาษดื่นในสังคมแบบ hypocrisy ของเรา. บางคนอาจจะคิดว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ไม่เหมาะสำหรับเด็กเท่าไรนัก เพราะมันโหดร้ายเกินไป แต่ความจริงแล้วมันเหมาะทีเดียวที่จะให้เด็กๆรู้เบื้องต้นก่อนว่า พวกเขายังมีเพื่อนๆอีกจำนวนมากที่ไม่ได้มีโอกาสเท่าพวกเขา คุณภาพชีวิตที่พวกเขาเป็นอยู่ มันเหมือนความมีโชคที่ได้มาโดยบังเอิญ (serendipity) และโลกใบนี้ก็ยังมีความน่าเกลียดอยู่จำนวนมากที่ยังไม่ได้สะสาง.

ในที่นี้ ผมนำหนังสือวรรณกรรมบางส่วนของ Anderson มาให้โหลดกันทั้งเล่ม ซึ่งประกอบไปด้วยเทพนิยายกว่า ๒๕ เรื่อง รวมทั้ง The Little Match Girl เรื่องนี้. ผมจำได้ครั้งที่นำเรื่องนี้มาให้ลูกๆได้อ่านกัน โดยเฉพาะลูกคนเล็กของผมที่อ่านไปร้องไห้ไป ด้วยความสงสารเด็กขายไม้ขีดไฟผู้อาภัพคนนี้. ช่วงวันคริสต์มาสขณะที่เธอเรียนอยู่ชั้น ป.๔ โรงเรียนของเธอมีกิจกรรมประกวดการอ่านภาษาอังกฤษ ลูกของผมเลือกเอาเรื่องนี้มาอ่าน และได้รางวัลชนะเลิศ ผมจึงบันทึกเสียงของเธอไว้เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒.

ดาวน์โหลด ฉบับเต็ม PDF >>>https://drive.google.com/file/d/0B-pnQPT61FsJcUtKTFFJaWY2eEk/view?usp=sharing

ดาวน์โหลด abridged PDF & MP3 >>> https://drive.google.com/file/d/0B-pnQPT61FsJaUMyNGhlSWpMSnc/view?usp=sharing


ลูกคนโตของผมก็โตมาพร้อมกับ Harry Potter ของ J. K. Rowling ผมแนะหนังสือเรื่องนี้ให้ลูกอ่านตั้งแต่เริ่มออกใหม่ๆแต่ลูกไม่สนใจ จนกระทั่งสนพ.หนึ่งนำมาแปลเป็นภาษาไทยขาย. ผมซื้อฉบับแปลเล่มแรกให้ลูกอ่านตามที่เธอขอ. แต่เธออ่านได้ไม่ถึงครึ่งเล่ม แล้วก็นำมาคืนให้ผมโยนทิ้งถังขยะไป เพราะแปลได้ห่วยมาก! เหมือนว่าสักแต่จะแปลเอาแบบลวกๆ อย่างสุกเอาเผากิน เพื่อรีบมาขายทำเงินเท่านั้น. ลูกคนเล็กของผมก็เช่นกัน. เธออ่านฉบับภาษาอังกฤษทั้งห้าเล่มแรกเมื่อจบชั้น ป.๖--เพราะเล่มที่ห้า Harry Potter and the Order of the Phoenix ก็ยากแล้วสำหรับเด็กอายุขนาดเธอจะอ่านเข้าใจได้ ดังนั้นสองเล่มที่เหลือจึงไม่ได้มีเวลาอ่านมาจนทุกวันนี้. ใครที่มีลูก ผมแนะนำให้ปลูกฝังการอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก เพราะนอกจากจะเป็นการปลูกฝังความคิดและจินตนาการแล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเปิดโลกกว้างให้แก่พวกเขา ให้กว้างขวางมากขึ้น มากยิ่งกว่ารุ่่นของเราที่เป็นพ่อเป็นแม่.

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.