The Poetics of Space (1958|1969) by Gaston Bachelard, trans. Maria Jolas [Intro, Chap 1-3 | PDF]
เกสตง แบฌลาร์ (Gaston Bachelard) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้มีความรู้กว้างขวางมาก ทั้งในด้านญาณวิทยา (epistemology) ภววิทยา (ontology), และจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) ที่มักจะผสมผสานกวีนิพนธ์และจินตภาพในงานวิเคราะห์ของเขา. แต่งานที่ทำให้เขาข้ามมามีชื่อเสียงในแวดวงสถาปัตยกรรมศาสตร์มากก็คือหนังสือเล่มนี้.
The Poetics of Space เล่มนี้เป็นเหมือนบททดลองของ Bachelard ที่เขานำปรัชญาของปรากฏการณ์วิทยามาประยุกต์ในการพรรณาประสบการณ์ของปริภูมิที่อยู่อาศัย (living spatial experience) จากห้องใต้ดินไปจนถึงห้องใต้หลังคา ที่เป็นเหมือนบทกวี อันสร้างจินตนาการให้ผู้อ่านยกระดับความคิดและความรู้สึกถึงปริภูมินั้น ให้เข้าถึงสัมผัส (sense of space) ได้อย่างน่าประทับใจ. ไม่เพียงเท่านั้น. . .
หนังสือเล่มนี้ยังย้ำให้ผู้ทำงานออกแบบได้ตระหนักและมีจินตนาการถึงประสบการณ์ของปริภูมิที่มีต่อผู้ใช้สอยอาคาร ความเชื่อมโยงของแต่ละปริภูมิที่ลำเลียงความคิด ความทรงจำ และแรงบันดานใจให้เข้าสู่ความตระหนักรู้ของมนุษย์ มากกว่าการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปริภูมิ ในเชิงเทคนิคหรือเชิงเหตุผล เมื่อมองเพียงจากผัง รูปด้าน หรือรูปตัดเท่านั้น.
สำหรับผู้เริ่มศึกษาปรากฏการณ์วิทยาในสถาปัตยกรรมแล้ว จะเห็นได้ว่า ภาษา โดยเฉพาะฉันทลักษณ์ของภาษา ไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เป็นสื่อที่สำคัญมากในการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนามธรรมในเชิงอุตรภาพ อย่างปริภูมิ (space) ทางสถาปัตย์; ดังเห็นได้จากวิธีการใช้ภาษาที่ Bachelard หรือ Norberg-Schulz หรือ Alexander หรือใครๆก็ตามที่่มีแนวคิดในแนวนี้ รวมทั้งผมที่ใช้พรรณาในภาคที่ ๒: บทวิจักขณ์ ของหนังสือ 'ทรฺศน' ปราสาทนครวัด. ดังนั้นทักษะในการใช้ภาษาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งพอๆกับเนื้อหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนทั้งการอ่านและการเขียน. หนังสือเล่มนี้จึงเป็นแบบอย่างที่ดีในการจะศึกษา ผมจึงแนะนำให้อ่านครับ.
ในที่นี้ผมได้ตัดเอาเฉพาะ Introduction, Chap 1: The House. From Cellar to Garret. The Significance of the Hut, Chap 2: House and Universe, และ Chap 3: Drawers, Chests and Wardrobes มาให้อ่านกันครับ.
ดาวน์โหลด PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0ZFVYa19rNEczUDg/view?usp=sharing
Post a Comment