Zen and Japanese Culture (1958) by Daisetsu Teitaro Suzuki [Chap 1-4 | PDF]
หากกล่าวถึงลัทธิเซ็นแล้ว คงไม่มีใครจะไม่รู้จักท่าน D. T. Suzuki นักวิชาการชาวญี่ปุ่นผู้เผยแพร่ลัทธิพุทธมหายานลัทธินี้ให้ชาวตะวันตกได้รู้จักกันอย่างกว้างขวางที่สุดในโลกสมัยใหม่. เซ็น (มาจากคำสันสกฤต ธฺยาน ซึ่งเป็นสภาพหนึ่งของสมาธิ) แม้จะกำเนิดในจีนที่ผสมผสานศาสนาพุทธเข้ากับเต๋าและขงจื้อ แต่ปรากฏว่าลัทธินี้ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้อย่างลึกซึ้งที่สุด อันอาจด้วยลัทธินี้เข้ากันได้กับจริตและกิจวัตรของชาวญี่ปุ่นที่เรียบง่าย และมีสำนึกต่อส่วนรวมเมื่อเข้าสู่กิจกรรมของสังคม พร้อมๆกับสำนึกต่อธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ. . .
ดังนั้นการจะเข้าใจพื้นฐานวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้ได้นั้น ต้องเรียนรู้เซ็นก่อนเป็นเบื้องต้น. วิธีบรรยายที่แทรกบทกวีญี่ปุ่นอันลุ่มลึกในหนังสือเล่มนี้ของท่าน Suzuki เปิดความเข้าใจในประวัติศาสตร์ความเชื่อมโยงของเซ็นและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างลึกซึ้งจริงๆ ทั้งในค่านิยมของลัทธิซามูไรและนักรบ -- ใครที่เคยชมภาพยนต์เรื่อง Ran (แปลว่าสงคราม) ของ คุโรซาวา ผู้กำกับระดับตำนานของญี่ปุ่น หรือใน Samurai Trilogy สามเรื่องของ โยจิ ยามาดะ คงจะเห็นความเชื่อมโยงของความเชื่อหลายๆอย่างในหนังสือเล่มนี้ได้ดี -- ประสบการณ์เชิงวิจักขณ์ (satori) ในศิลปะและวรรณศิลป์ (haiku) ของญี่ปุ่น หรือในพิธีชงชา หรือวาบิจะ (wabi-cha) และแบบอย่างของนักชงชาผู้มีชื่อเสียงโดยเฉพาะ เซนโนริกยึ (Sen no Rikyu) ผู้มีชีวิตในช่วงศตวรรษที่ 16 รวมทั้งในความรักธรรมชาติของชาวญี่ปุ่นเอง. ใครที่อยากเขาใจญี่ปุ่น อันนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งอื่นๆทั้งศิลปะ-สถาปัตยกรรม การจัดสวน คติ-ความเชื่อ และ ฯลฯ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ. ผมจึงเอาแนะนำให้อ่านกัน.
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ยังไม่เป็น public domain ในที่นี้ผมจึงตัดมาแต่บทที่ I: What Is Zen?, II: General Remarks on Japanese Art Culture, III: Zen and the Study of Confucianism, และ IV: Zen and the Samurai ซึ่งน่าจะพอที่จะให้เข้าใจพื้นฐานและความเชื่อมโยงของเซ็นกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น. หากใครสนใจมากกว่านี้ ลองไปหาอ่านกันดูนะครับ.
ดาวน์โหลด PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0NnFZd2hhRGVqVnc/view?usp=sharing
Post a Comment