The Ugly American (1958) by William J. Lederer and Eugene Burdick [pp.1-76 | PDF]


ผมจำได้ว่าได้ชมภาพยต์เรื่อง The Ugly American (1963) ที่นำแสดงโดย Marlon Brando และ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ตอนอยู่ประมาณชั้นป.๕-๖ ในวัยเด็ก [หนังเอากลับมาฉายซ้ำพอดีในช่วงวันเด็ก และโรงหนังตจว.สมัยนั้นก็ใจดีให้เด็กดูฟรีในวันเด็กทุกปี]. จำได้ว่าดูไม่รู้เรื่องเลย มีแต่บทพูด -- ไม่เหมือนเรื่อง Earthquake (1974) หรือ The Towering Inferno (1974) หรือ Jaws (1975) ที่เด็กอย่างผมยังดูได้ดูดีสมัยนั้น เพราะไม่ต้องคิดอะไรมาก -- แต่จดจำชื่อหนังได้อย่างไม่ลืมเลือน. เมื่อโตมาก็ไปควานหานวนิยายที่มาของหนังเรื่องนี้มาอ่าน ซึ่งก็คือเล่มที่ผมนำมาแนะนำเล่มนี้ และไปหา VHS-VDO ที่ร้านดังแถวประตูน้ำสมัยผมเป็นวัยรุ่นมาดูอีกครั้ง ก็ทำให้เข้าใจทุกอย่างมากขึ้น.

นวนิยายของ Lederer และ Burdick เล่มนี้ เป็นเรื่องสมมุติบนพื้นฐานของความเป็นจริงทั้งเหตุการณ์และตัวละครจากประสบการณ์ของ Lederer ในช่วงที่เขามาใช้ชีวิตในภูมิภาคของเรานี้สมัยก่อนสงครามเวียดนาม. เนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศสมมุติที่ชื่อ ประเทศสารขัณฑ์ -- ชื่อที่คนไทยปัจจุบันรู้จักกันดีในเชิงเหน็บแนมโดยเข้าใจว่าคือไทย แต่โดยมากจะไม่ทราบว่ามีที่มาจากไหน -- นั้น. . .

ความจริงแล้วผู้แต่งคงต้องการหมายรวมถึงกลุ่มประเทศอินโดจีนทั้งหมด ทั้งเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า มากกว่าจะใช่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียว. ผมคงจะไม่เล่าเรื่องให้เสียอรรถรส แต่ขอกล่าวถึงกระแสความกลัวคอมมิวนิสม์อย่างฝังลึกของรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งแผ่ขยายความกลัวนั้นไปทั่วสังคมอเมริกันและทั้งโลก (ที่คิดว่าตนเองนั้นเสรี) ในช่วงสงครามเย็น อันเป็นผลทำให้รัฐบาลอเมริกันพยายามเข้าไปแทรกแซงประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศอดีตอาณานิคม ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของเผด็จการคอมมิวนิสม์ในรัสเซียและจีน. แต่สิ่งที่ Lederer และ Burdick ต้องการสื่อในนวนิยายนี้คือความแตกต่างทางพื้นฐานวัฒนธรรม และความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมเหล่านั้นของชาวอเมริกันและรัฐบาลสหรัฐฯเอง ที่มีแต่ทิษฏิ มองตนว่าเป็นใหญ่และดำเนิรนโยบายตามที่ตนเองเห็นดีเห็นงาม โดยไม่มองบริบทของประเทศเล็กๆเหล่านั้น ที่เป็นต้นเหตุทำให้ความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ลุกลามมากยิ่งขึ้นจนไม่อาจควบคุมได้. บทสนทนาของตัวละครต่างๆในเรื่อง บ่งบอกและเสียดสีความคิดของคนในระดับผู้วางนโยบายของสหรัฐฯและของคนในท้องถิ่นที่แปลกแยกจากกันและกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้สหรัฐฯต้องล้มเหลวในการแย่งมวลชนกับคอมมิวนิสม์ภูมิภาคนี้ ที่เข้าถึงประชาชนมากกว่า และล้มเหลวในสงครามอินโดจีนอย่างเต็มรูปแบบในเวลาต่อมา. การเร่งขยายผลการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสังคมในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกของสหรัฐฯ รวมทั้งการให้ทุนการศึกษาแก่ปัญญาชนท้องถิ่นให้มาเรียนในสหรัฐฯเพื่อนำ methodology ที่ได้ร่ำเรียนมา กลับไปทำงานวิจัยในช่วงยุค '60-'80 นั้น อาจเป็นผลหนึ่งที่นวนิยายเล่มนี้ได้สร้างคุโณปการไว้ก็เป็นได้ เพียงแต่ว่าความตระหนักในเรื่องนี้ไม่สมดุลกับทันคติอันเป็นจริงของชาวอเมริกันและรัฐบาลสหัรฐฯเท่านั้นเอง.

ผมคิดว่าน่าจะมีการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ไม่ทราบว่าเป็นใครหรือสนพ.ใด. ลองไปหาอ่านกันดูครับ แต่นวนิยายเรื่องนี้ยังคงพิมพ์จำหน่ายอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ผมนำมาลงให้ชิมอ่านกันได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะยังไม่ใช่ pubic domain ครับ.

ดาวน์โหลด PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0cXZuVUtPVkJNMFk/view?usp=sharing

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.