The Wonder that was India (1954) by A. L. Basham [Preface & Chap.VII-VIII | PDF]
หนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นตำรามาตราฐานสำหรับวิชาประวัติศาสตร์อินเดียก็ว่าได้ เพราะหนังสือประวัติศาสตร์เล่มที่เขียนกันใหม่ๆ ก็ไม่ได้มีอะไรเพิ่มเติมมากมายไปกว่าที่เขียนไว้ในหนังสือของ A. L. Basham เล่มนี้ เพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่พบใหม่ก็ให้คำตอบไปในทิศทางเดียวกันแทบทั้งนั้น นอกจากในประเด็นทฤษฏีว่าด้วยการเข้ามาของชาวอารยันที่เชื่อมโยงกับเมืองโบราณที่นั่นที่นี่ ซึ่งแน่นอนว่ายังถกเถียงกันอย่างไม่ได้ข้อสรุป ก็ในเมื่อมันห่างไกลเสียขนาดนั้น -- มีฉบับของ John Keay ในบทสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขียนได้อย่างน่าสนใจทีเดียว. ปัจจุบันตำราเล่มนี้แก้ไขเพิ่มเติมจนเป็น 3rd Edition แล้ว (แต่ฉบับที่เอามาให้อ่านนี้เป็น edition แรก) และมีการเขียนเพิ่มประวัติศาสตร์ในสมัยสุลต่านมุสลิมปกครองจนถึงการเข้ามาของบริษัท East India แต่เขียนโดย S.A.A. Rizvi ไม่ใช่ Basham โดยใช้ชื่อหนังสือเดียวกัน แต่เป็น Vol.II.
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ไล่ประวัติศาสตร์ของอินเดียตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนมาถึงสมัยก่อนการครอบงำของสุลต่านมุสลิม โดยพยายามครอบคลุมเนื้อหาในทุกส่วนทั้ง ศาสนา สังคม การเมือง-การปกครอง ภาษา-วรรณกรรม ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆที่ Basham เอาไปไว้ในเชิงอรรถ ซึ่ง Basham ทำได้ดีทีเดียวจากสายตาของชาวตะวันตกผู้ร่ำเรียนมาทางตะวันออกศึกษา โดยเฉพาะการลำดับและจัดเนื้อหาของเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้อ่านทั่วไปทำความเข้าใจได้อย่างไม่ยากเย็น. ที่ผมชอบคือ Basham เขียนสรุปในย่อหน้าสุดท้ายของบทสุดท้ายได้อย่างน่าประทับใจว่า:
"It is today something of an anachronism to speak of Western civilization or Indian civilization. Until very recently cultures were sharply divided, but now, when India is less than a day's journey from London, cultural divisions are beginning to disappear. If a modus vivendi is reached between liberal democracy and communism, and civilization survives, the world of the future will have a single culture with, it is to be hoped, many local differences and variations. India's contribution to the world's cultural stock has already been very large, and it will continue and grow as her prestige and influence increases. For this reason if for no other we must take account of her ancient heritage in its successes and its failures, for it is no longer the heritage of India alone, but of all mankind." (489)
แต่หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงการปูพื้นฐานความเป็นมาของดินแดนภารตะเท่านั้น สำหรับผมแล้วนับว่า ยังเข้าถึงจิตวิญญาณของความเป็นอินเดียไม่ลึกพอ แต่มีหนังสือเชิงประวัติศาสตร์อินเดียอยู่เล่มหนึ่งของท่านศรีอรฺพิณโฑโฆษ (Sri Aurobindo Ghose) ที่ไม่เป็นที่รู้จักในบ้านเราเท่าไรนัก แต่เปี่ยมไปด้วยความเป็นอินเดียที่ทำให้เราเข้าใจลึกเข้าไปถึงวิถีและปรัชญาของความเป็นอินเดียในมิติที่มากกว่าที่เห็นในเชิงกายภาพอย่างแท้จริง. แล้วผมจะนำมาแนะนำให้อ่านต่อไปครับ.
ในที่นี้ ผมตัดเฉพาะส่วนของ Preface, Chap.VII: Religions, และ Chap.VIII: The Arts มาให้อ่านกันครับ.
ดาว์นโหลด PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0d0dkYkoxaHNQSXM/edit?usp=sharing
Post a Comment