The Discovery of India (1946) by Jawaharlal Nehru [PDF]


หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นในช่วงที่ท่านชวาหระลาล เนห์รูถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำในอะเมทนคร ในช่วงปี 1942-1946 [นักคิดนักเขียนหลายๆท่านมีเวลาเขียนงานดีๆในคุกทั้งนั้นไม่ว่า จิตร ภูมิศักดิ์ หรือท่านพล คงคาธาร และอีกหลายๆคน] จากการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษที่เรียก campaign ครั้งนั้นว่า Quit India. เนื้อหาในหนังสือเล่มนี่เป็นมุมมองของบัณฑิตผู้รักชาติที่มองประวัติศาสตร์ ศาสนา-ปรัชญา และวัฒนธรรมอันยาวนานหลายพันปีของตนเอง นับจากการก่ออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเรื่อยมาจนถึงสมัย British-raj และการเคลื่อนไหวของ nationalist ที่เกิดขึ้นในสมัยของท่าน. แม้ว่าท่านจะเรียกตนเองว่าเป็นพวก nationalism แต่ท่านก็ไม่ใช่พวก extremism ที่มองอินเดียอย่างสุดโต่ง และโหยหาสังคมแบบฮินดูในอดีตเหมือนอย่างเช่นพรรค Bharatiya Janata Party (BJP). ท่านเนห์รูมองอดีตเพื่อนำอินเดียให้ก้าวไปข้างหน้าในโลกสมัยใหม่ รวมกับประเทศอื่นๆทั่วโลกอย่างมิตรที่มีใจเปิดกว้างให้แก่กันและกัน หาใช่ถอยหลังให้กลับไปสู่สังคมอดีต ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในพลวัตรของสังคมโลก. นั่นอาจเป็นเพราะการได้รับการศึกษาตามแบบแผนตะวันตกทำให้ท่านประสานความคิดทั้งตะวันออกและตะวันตกไว้ได้ด้วยกัน แต่จักรวรรดินิยมอังกฤษที่เข้ามาปกครองอินเดียเป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษนั้นขาดความชอบธรรมโดยพื้นฐานของมันเองอยู่แล้ว -- ซึ่งที่ก็เขียนถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย -- จึงทำให้ท่านออกมาเคลื่อนไหวพร้อมกับเพื่อนร่วมชาติ โดยท่านมีมุมมองต่ออนาคตของอินเดียที่เหมือนจะเป็นสายกลางจึงทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมอุดมการณ์ในการกอบกู้เอกราชของอินเดียให้ท่านเป็นผู้นำ; ซึ่งท่านก็ได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียในเวลาต่อมา (1947-1964) หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช.

ภาษาที่ท่านเนห์รูเขียนในหนังสือเล่มนี้บ่งบอกความเป็นบัณฑิตของท่านได้เป็นอย่างดี. จากมุมมองในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด ทำให้รู้สึกได้ว่าสมควรแล้วที่ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐบุรุษของอินเดียอย่างแท้จริง. ผมจึงแนะนำให้อ่านครับ เพราะสิ่งที่เราเรียนรู้จากมุมมองของท่านที่มีต่อประเทศของตนเอง จะเปิดโลกให้เรามองอดีตของเราเองอย่างกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม. ท่านเนห์รูยังได้เขียนอัตชีวประวัติของตนเองไว้ด้วย รวมทั้งจดหมายที่ท่านเขียนถึงบุตรีของท่าน (นางอินทิรา คานธีในวัยเด็ก) ซึ่งน่าอ่านมาก. วันหลังผมจะเอามาแนะนำครับ.

ดาวน์โหลด ฉบับเต็ม PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0ZFQ1cUZJbGphZG8/view?usp=sharing

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.