The Hindu Temple, 2 vols (1946) by Stella Kramrisch [Part I-III | PDF]


หนังสือชุดนี้ถือว่าคือ magnum opus ของ Kramrisch โดยแท้. Kramrisch เป็นศิลปินชาวอเมริกัน ผู้ไปร่ำเรียนปรัชญาและศิลปะในเวียนนา แล้วสุดท้ายก็มาหลงใหลในศิลปะ-สถาปัตยกรรมของอินเดียเมื่อความประทับใจครั้งที่ได้อ่านคัมภีร์ภควตฺคีตาตั้งแต่วัยเด็กและการชักชวนของท่านรพินฺทรนาถฺฐากูรฺชักนำให้เธอมาอินเดีย ก่อนที่จะหันมาศึกษาศิลปะ-สถาปัตยกรรมอินเดียอย่างลึกซึ้งมากกว่าที่ชาวตะวันตกคนใดได้เคยศึกษากันมา -- เพราะที่ผ่านมานั้น ต่างมองสถาปัตย์และประติมากรรม "ในเชิงโบราณคดี" กันเท่านั้น. เนื้อหาของหนังสือชุดนี้ประกอบด้วย:

VOLUME I: PART I: The Site, Part II: The Plan, Part III: Plan and Supernal Man, Part IV: The Substances of which the temple is built, Part V: Names and Origins of the Temple, Part VI: The Superstructure, Part VII: Proportionate Measurement and Varieties of the Temple, VOLUME II: Part VIII: The Images of the Temple, และ Explanation of Plates, Appendix, Sources, Index, Plates I-IXXX.

ในสี่บทแรกของเล่มแรก Kramrish ได้ประมวลศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมจากคัมภีร์ต่างๆทั้งหมดโดยอธิบายลึกไปถึง 'ทรฺศน' ของปรัชญาฮินดูที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบ 'ติรถ' เหล่านี้ รวมทั้งการวางผัง การเลือกวัสดุ และ ฯลฯ. ในบทที่ห้า เธอสืบค้นที่มาและพัฒนาการของสถาปัตยกรรมฮินดูนับจากสมัยพระเวทจนถึงสมัยคลาสสิกที่มีรูปตามที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน. ส่วนในบทที่หก จะเป็นการวิเคราะห์ศิขร หรือรูปทรงของเครื่องบนทั้งหมดที่เป็นลักษณะลดรูป (pyramidal) หรือโค้งขึ้นไปรวมตัวกันที่ยอด (curvilinear). ในบทที่เจ็ด จะเป็นการวิเคราะห์ครฺภคฤห ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของตัวปราสาทและเป็น modular หรือตัวกำหนดสัดส่วนทั้งหมดของปราสาททั้งในผังและรูปด้าน. ในบทนี้ยังวิเคราะห์รวมถึงมณฑปที่ประกอบอยู่เบื้องหน้าของศิขรและรูปแบบต่างๆของปราสาทตามที่ปรากฏในคัมภีร์พฤหตฺสํหิตา และคัมภีร์สมรางฺคณสูตฺรธร ซึ่งเป็นคัมภีร์ทางสถาปัตย์ที่สำคัญของฮินดู. ส่วนในเล่มที่สอง ทั้งเล่มจะเป็นการบรรยายภาพประกอบ โดยนำความรู้ที่อยู่ในเล่มแรกมาอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น.

ผมกล่าวได้ว่า ใครที่ศึกษาสถาปัตยกรรมฮินดู รวมทั้งองค์ประกอบทางสถาปัตย์และประติมากรรมที่มีไว้ประดับ เพื่อให้เข้าใจลึกเข้าไปถึงสารัตถะทั้งความหมายเชิงสัญลักษณ์และจิตวิญญาณของปรากฏการณ์ จะต้องศึกษาตำราเล่มนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. เสียดายที่ผมไม่อาจนำมาให้อ่านได้ทั้งหมดเพราะยังไม่เป็น public domain; ผมจึงตัดส่วนของ Part I-III มาให้อ่านกันครับ.

ดาวน์โหลด PDF >>> https://drive.google.com/file/d/0B-IkyUou3dP0Z00xWU5TdE1ySm8/view?usp=sharing
 

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.