Angkor Vat: par la regle et le compas (1966) by Rene Dumont [Chap.1-4, PDF]
หนังสือเล่มนี้ของ Dumont แม้จะหนาเพียง ๙๔ หน้า แต่นับว่าเขาเป็นคนแรกที่วิเคราะห์สัดส่วนของปราสาทนครวัดได้อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา. พื้นฐานของการกำหนดสัดส่วนของสถาปัตยกรรมขอมที่เริ่มจาก modular อันคือพื้นที่จตุรัสของ 'ครฺภคฤห' นั้น มีปรากฏในคัมภีร์สถาปัตยกรรมของอินเดียมาช้านานแล้ว อย่างเช่นในคัมภีร์ 'มนสารศิลปสาร' เป็นต้น. การแผ่ขยายสัดส่วนจาก modular นี้ออกไปจนทั่วทั้งมณฑลโดยใช้หลักการทางเรขาคณิตและตรีโกณ ก็เป็นศาสตร์ที่สถาปนิกอินเดียและขอมต้องมีทักษะเพื่อใช้ในการออกแบบและวางผังให้สอดคล้องกับจักรวาล เพราะปราสาทถือเป็น microcosm ของจักรวาลนั่นเอง. Dumont ได้ทำให้ความคิดดังกล่าวปรากฏให้เราเข้าใจได้ในเชิงประจักษ์ ด้วย diagram ที่เขาวิเคราะห์ผังปราสาทให้เราเห็นทั้งหมด แม้ว่าเขาจะไม่ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคติกับสัดส่วนให้เราเข้าใจลึกเข้าไปก็ตาม. ดังนั้นใครที่สนใจทาง architectonic ของปราสาทขอม ควรอ่านหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะหากศึกษาแนวคิดวิเคราะห์ของเขาและศึกษาคัมภีร์สถาปัตย์ของอินเดียเพิ่มเติมจะเข้าใจปรัชญาในการออกแบบปราสาทขอมมากขึ้นและลุ่มลึกยิ่งขึ้นครับ.
ในที่นี้ผมตัดส่วนของบทที่ 1.Introduction 2.Some Principles of Khmer Architecture 3.Graphical Analysis Methods และ 4.Description of the Plan of Angkor Wat มาให้อ่านกันครับ.
ดาว์นโหลด PDF >>> http://goo.gl/fVBZql
นอกจากนั้น ผมยังได้เขียนบทความวิเคราะห์สัดส่วนของปราสาทนครวัดเพิ่มเติมในหัวข้อ มาตราวัดระยะและสัดส่วนในสถาปัตยกรรมฮินดู: กรณีศึกษา ปราสาทนครวัด ลองอ่านเพิ่มเติมดูนะครับ.
Post a Comment