Intentions in Architecture (1963) by Christian Norberg-Schulz [Preface, I.Introduction, II.1.Background - Perception | PDF]


Christian Norberg Schulz เป็นนักประวัติศาสตร์และนักทฤษฏีสถาปัตย์ที่โดดเดนจริงๆ. Intentions in Architecture เป็นงานหนังสือเล่มแรกที่เขาพิมพ์ โดยเขาวิเคราะห์ให้เราเข้าใจถึงความสัมพันธ์ในเชิงจิตวิทยาของสถาปัตยกรรมที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งนับเป็นพื้นฐานความคิดของเขาที่ทำให้ต่อมา เขาจึงผนวกทฤษฏีสถาปัตยกรรมศาสตร์และปรัชญาของปรากฏการณ์วิทยาไว้ได้ด้วยกันอย่างลึกซึ้งในหนังสือเรื่อง Genius Loci ซึ่งตีพิมพ์ต่อมาในปี 1980 -- ซึ่งผมจะได้นำมาแนะนำให้อ่านต่อไป. และอย่างที่ชื่อของหนังสือบอก สถาปัตยกรรม (รวมทั้งศิลปะแขนงอื่นๆ) ต่างล้วนถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างตั้งใจ ไม่มีปรากฏการณ์ใดๆในทางสถาปัตย์ที่จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ใครที่เรียนมาทางสถาปัตย์หรือใครที่สนใจจึงไม่ควรพลาดหนังสือเล่มนี้อย่างเด็ดขาด แม้ว่าจะอธิบายพัฒนาการของสถา ปัตยกรรมตะวันตก (โดยเฉพาะ Baroque) แต่ทฤษฎีที่อยู่ในเล่มนี้ ผมก็เอามาใช้อธิบายใน 'ทรฺศนปราสาทนครวัด' ของผมครับ. หนังสือของ Norberg-Schulz หายาก (อย่าง Genius Loci ผมยังแปลกใจว่าทำไมไม่พิมพ์ซ้ำอีก) จึงหาแทบไม่ได้เลยนอกจากในห้องสมุดเท่านั้น.

ผมตัดเฉพาะส่วนของหนังสือ ๔๕ หน้าแรกซึ่งประกอบด้วย Preface, บทที่ I.Introduction และ บทที่ II.1.Perception มาให้อ่านครับ.

ดาว์นโหลด PDF >>> http://goo.gl/n0cXwv

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.