Surya Siddhanta (1935) by Ebeneze Burgess [PDF]
ในบทความเรื่อง ปรากฏการณ์สุริยุปราคาและประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยกษัตริย์สูรฺยวรรมัน ๒ ของผม ผมใช้คัมภีร์ 'สูรยสิทฺธานต' จากหนังสือที่ Burgess แปลและให้อรรถาธิบายเล่มนี้ในการคำนวณหาวันที่เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา ซึ่งผลปรากฏว่า มันสามารถคำนวณได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน มศ. ๑๐๗๐ (พศ.๑๖๙๑/คศ.1148) ซึ่งนับว่าแม่นยำมากทีเดียว. แน่นอนว่าคัมภีร์นี้และที่ Bergess ยกตัวอย่างการคำนวณให้ สามารถคำนวณตำแหน่งเทห์ฟากฟ้าต่างๆที่มองเห็นด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ (ซึ่งยากที่สุด) รวมทั้งการคำนวนการขึ้นลงของเทห์ฟากฟ้าเหล่านั้น ซึ่งเป็นพื้นฐานก่อนที่จะคำนวณสูรยปราคาได้. ระบบการคำนวณทางดาราศาสตร์ของฮินดูใช้เลขฐาน ๖๐ (sexagesimal) เป็นหลัก โดยใช้ตารางค่า sine ที่คิดค้นขึ้นมาเองของพราหมณ์ฮินดู ซึ่งน่าทึ่งมาก. สำหรับคนที่มีพื้นฐานตรีโกรณ พีชคณิต และเรขาคณิตพอควรก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ แม้ว่า Burgess จะอธิบายสั้นไปหน่อยและภาษาที่เขาอธิบายบางครั้งก็ยากที่จะทำความเข้าใจก็ตาม.
หนังสือการคำนวณด้วยมือทางดาราศาสตร์สมัยใหม่อีกเล่มที่ผมอ่านคู่กันคือ Practical Astronomy with your Calculator, 3th Edition (1988) ของ Peter Duffett-Smith ซึ่งพอจะเทียบเคียงวิธีการคำนวณทำให้เข้าใจคัมภีร์ 'สูรยสิทฺธานต' ได้มากขึ้น. คัมภีร์นี้ยากที่จะกำหนดอายุ แต่เป็นไปได้ว่าอาจมีคัมภีร์ที่มีเนื้อหาเป็นพื้นฐานของ 'สูรยสิทฺธานต' มาก่อนนานแล้ว อาจจะหลังพุทธกาลไม่นานนัก. คัมภีร์ดาราศาสตร์ฮินดูอีกเล่มหนึ่งคือ 'สิทฺธานตศิโรมณี' ของ พราหมณ์ภาสฺกร ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ช่วงเดียวกันกับสมัยของกษัตริย์สูรฺยวรรมันที่ ๒ ก็อาจจะมาถึงพราหมณ์ขอมก็เป็นได้.
ดาว์นโหลด ฉบับเต็ม PDF >>> http://goo.gl/7pa4bC
Post a Comment