Genius Loci: Towards a Phenomenology of Architecture (1979) by Christian Norberg-Schulz [Preface, I.Place?, III.Man-made Place | PDF]
หลังจากที่หนังสือเรื่อง Intentions in Architecture (1963) ของ Norberg-Schulz ซึ่งเปิดมุมมองสถาปัตย์ในทางจิตวิทยาได้เผยแพร่ไปแล้ว ต่อมาเขาได้รับแรงบันดานใจจากบทความของ Martin Heidegger ที่ผมแนะนำไปแล้วแล้วชื่อ 'Building, Thinking, and Dwells' จึงผนวกเอาทฤษฏีปรากฏการณ์วิทยา อันเกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ต่อสถาปัตยกรรม ต่อปริภูมิที่อยู่โดยรอบ ต่อสัตฺตในความเป็นงานศิลปะ จนมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือคลาสสิกเกี่ยวกับทฤษฏีปรากฏการณ์วิทยาทางสถาปัตย์ (phenomenology of architecture) สำหรับสถาปนิกทุกคนที่ควรอ่าน. Norberg-Schulz ได้เปิดมุมมองใหม่ในการรับรู้ประสบการณ์ของสถาปัตย์ และแนะระเบียบวิธีในการประเมินค่าของสถาปัตยกรรมไว้อย่างน่าสนใจมาก. เขาเริ่มจากการตีความหมายในมุมมอง grammatological perspective แบบ deconstruction ของชื่อหนังสือ 'genius loci' ก่อนนำไปสู่การสำแดงเจตนาทางสถาปัตย์ (manifestation of intentionality) โดยเขาค่อยๆบรรยายวิวัฒนาการของสถาปัตย์ประกอบกับภาพและบทกวี และยกตัวอย่างกรณีศึกษาสถาปัตยกรรมในกรุงปราก (Prague) ของสาธารณรัฐเช็ก, กรุงคาร์ทูม (Khartum) ของประเทศซูดาน และกรุงโรม (Rome) ของอิตาลี ทำให้ผู้อ่านเข้าใจนยะที่เขาต้องการสื่อได้อย่างเข้าใจมากขึ้น. วิธีการใช้คำของ Norberg-Schulz ในหนังสือเล่มนี้ อาจทำให้ผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยกับปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาอาจจะงงๆ แต่หากได้อ่านบทความของ Heidegger ก่อนนี้คงจะพอช่วยได้. เอาไ้วผมจะแนะนำหนังสือที่ปูพื้นฐานความคิดของปรัชญานี้มาให้อ่านกันอีกทีครับ.
ในที่นี้ ผมตัดส่วนของ Preface และบทที่ I.Place? กับ III.Man-made Place มาให้อ่านกันครับ. น่าแปลกที่หนังสือเล่มนี้ไม่มีการพิมพ์ซ้ำเลย ทำให้หาซื้อยาก และอาจหาอ่านยากด้วยเช่นกันในห้องสมุด.
ดาว์นโหลด PDF >>> http://goo.gl/0I6ckl
Post a Comment