Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism (1983) by Benedict Anderson [Chapter I & II | PDF]


หนังสือเล่มนี้น่าสนใจมาก เพราะสิ่งที่ Anderson เขียนในเล่มนี้สามารถนำมาอธิบายปรากฏการณ์ชาตินิยมแบบไทยได้อย่างลุ่มลึกจริงๆ. อ.สุลักษณ์ ศิวลักษณ์เคยเขียน (จำไม่ได้ว่าในบทความไหน) ไว้ว่า กษัตริย์กับประธานาธิบดีต่างกันตรงที่ กษัตริย์นั้นต้องคู่กับ myth ในขณะที่ประธาธิบดีนั้นจะไม่มี ซึ่งเป็นจริงที่เดียวโดยเฉพาะหาก myth นั้นแผ่ขยายไปในระดับชุมชน (หรือชาติ) ในการสร้างนิยายของชนในชาติที่ร่วมกัน (collective figmentation) เพื่อวาง position ตนเองให้แตกต่างไปจากชุมชน (หรือประเทศ) อื่นๆ อันก่อให้เกิดระบอบการปกครองที่ (พยายามจะเรียกให้) จำเพาะเป็นของตนเอง. หนังสือเล่มนี้จึงควรค่าที่จะอ่านเป็นอย่างยิ่ง. ในที่นี้ผมตัดเอาเฉพาะส่วนของบท Introduction และบท Cultural Roots มาให้อ่านครับ. หนังสือเล่มนี้มีแปลแล้วโดย อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นบรรณาธิการ ในชื่อ "ชุมชนจินตกรรม" ไปหาซื้อกันได้เลยครับ. และผมเห็น Anderson เพิ่งจะออกหนังสือเล่มใหม่มาแล้วชื่อ Exploration and Irony in Studies of Siam over Forty Years (2014) คงต้องไปหามาอ่านแล้วครับ...

ดาว์นโหลด PDF >>> http://goo.gl/PeOLNi

ไม่มีความคิดเห็น


หฤทัยแห่งอันธการ แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

หฤทัยแห่งอันธการ
Heart of Darkness โดย Joseph Conrad
แปล-วิเคราะห์: เกียรติขจร ชัยเธียร

สำนักพิมพ์สมมติ
>> วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
>> อ่านบางส่วนของ คำนำของผู้แปล
ขับเคลื่อนโดย Blogger.